Page 10 - การจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการพัมนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูงบ้านห้วยแล้ง ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
P. 10
1
บทที่ 1
บทน า
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของอ าเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายมีลักษณะเป็นภูเขาสูง สลับกับเนินเขา และที่
ราบต่ า ทรัพยากรที่ดินนับวันจะขาดแคลน และมีไม่เพียงพอกับจ านวนประชากรที่ต้องการใช้ที่ดินเป็นที่ที่ท ามาหา
กิน ยิ่งไปกว่านั้นที่ดินบางแห่งยังเสื่อมโทรมลงอย่างน่าวิตก ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากสาเหตุมากมายหลายประการ เช่น
ใช้ที่ดินไม่เหมาะสมกับสมรรถนะ หรือปลูกพืชไม่เหมาะสมกับสภาพของดิน ใช้ที่ดินปลูกพืชติดต่อกันมาช้านานและ
ขาดการทะนุบ ารุงดินที่เหมาะสมจึงท าให้เกษตรกรเข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อท าไร่ ซึ่งพื้นที่เหล่านั้นเป็นพื้นที่เนินเขา
สูงไม่ สามารถท าการเกษตรแบบปกติได้ มีการชะล้างพังทลายของดินท าให้หน้าดินสูญเสียธาตุอาหารพืช การใช้
พื้นที่ต้องมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ าในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดิน
ชุมชนบนพื้นที่สูง บ้านห้วยแล้ง อ าเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย เป็นเอกสารวิชาการที่จัดท าขึ้น โดยการรวบรวม
ความรู้และประสบการณ์จาก การปฏิบัติงานก่อสร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ าในภาคสนาม ใช้เป็นเอกสารวิชาการ
ในการศึกษาและก่อสร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ า เพื่อลดปัญหาการชะล้างพังทลายของดินจากปริมาณน้ าที่ไหลบ่า
ผิวหน้าดิน และพัฒนาพื้นที่ให้มีความเหมาะสมส าหรับการเพาะปลูกพืช แต่เนื่องจากระบบอนุรักษ์ดังกล่าวไม่ได้มี
การรวบรวมรายละเอียดและขั้นตอนแบบเจาะจง ดังนั้นจึงมีแนวความคิดที่จะจัดท าเป็นเอกสารวิชาการ เพื่อ
เผยแพร่ผลงาน ให้กับหน่วยงาน เกษตรกรและผู้สนใจได้ศึกษาค้นคว้าและเป็นแบบอย่างน าไปใช้ประโยชน์ต่อไป
1.1 หลักการและเหตุผล
สถานีพัฒนาที่ดินเชียงราย ได้คัดเลือกพื้นที่เกษตรกรบ้านห้วยแล้ง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 330 ไร่
เป็นพื้นที่ด าเนินงานในปีงบประมาณ 2556 จากการส ารวจข้อมูลเบื้องต้นพบว่าพื้นที่มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนิน
เขา จนถึงที่สูงชัน โดยสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่จะลาดเทลงสู่ทิศตะวันตก มีความสูงจากระดับน้ าทะเลปานกลางตั้งแต่
400 – 510 เมตร พื้นที่ที่เป็นเนินเขาและพื้นที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ มีประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์
ของพื้นที่ทั้งโครงการ เกษตรกรที่ใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง การท าการเกษตรมีปัญหาการ
ชะล้างพังทลายของดิน เนื่องจากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดชันสูง ดินเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่
มีการเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชบ่อยครั้ง โดยการบุกรุกเปิดป่าใหม่ ซึ่งเป็นปัญหารุนแรงของชุมชนบนพื้นที่สูงทั่วไป จาก
ปัญหาดังกล่าวสถานีพัฒนาที่ดินเชียงราย จึงเห็นควรใช้วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ าแก้ไขด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินเหล่านี้
ซึ่งการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ า เป็นกิจกรรมที่อยู่ในโครงการด้านอนุรักษ์ดินและน้ าหลายโครงการ แต่เนื่องจากเป็น
พื้นที่สูงและเกษตรกรเป็นชาวไทยภูเขา จึงพิจารณาใช้โครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูงด าเนินงานในพื้นที่
เป้าหมายนี้
โครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูงเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อด าเนินการอนุรักษ์ดินและฟื้นฟู
ทรัพยากรที่ดินในบริเวณพื้นที่สูงเนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวเขาเผ่าต่างๆซึ่งมีการใช้ที่ดินเพื่อ
การเกษตรแบบไร่หมุนเวียนและมักมีการอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นเสมอโดยการบุกรุกท าลายป่าเพื่อน าพื้นที่มาใช้ในการ
ปลูกพืชไร่ หรือพืชเสพติดจนกระทั่งดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ก็จะบุกเบิกเผาป่าถัดไปเพื่อหาพื้นที่ใหม่ต่อต่อไป
เรื่อยๆ การกระท าดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาอย่างมากมาย เช่นพื้นที่ป่าต้นน้ าล าธารถูกท าลายการ
สูญเสียดินจากการกัดกร่อนของหน้าดินซึ่งท าให้คุณภาพดินเสื่อมลง เกิดการตื้นเขินของแม่น้ า ล าคลองในเขตพื้นที่