Page 20 - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน : กรณีศึกษาการปลูกข้าวโพดหวาน บ้านท่าพยอม ตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี
P. 20
8
1.4.5 การเก็บข้อมูล
1) ด้านดิน เก็บข้อมูลดินโดยการเก็บตัวอย่างดินที่ระดับความลึก 0-15 เซนติเมตร แบบ
ตัวอย่างรวม (Composite sample) ส่งห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
ปริมาณอินทรียวัตถุ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ โดยท าการเก็บ
ตัวอย่างดินทั้งหมด 5 ครั้ง แบ่งเป็นการเก็บตัวอย่างดินก่อนด าเนินการศึกษา พ.ศ. 2555 และเก็บตัวอย่าง
ดินหลังด าเนินการศึกษา พ.ศ. 2555-2556 ปีละ 2 ครั้ง เพื่อศึกษาถึงสมบัติทางเคมีของดินที่มีผลจากการใช้
นวัตกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน
2) การเก็บข้อมูลผลผลิตข้าวโพดหวาน (ผลผลิตต่อไร่) เก็บน้ าหนักฝักสดพร้อมเปลือก
(กิโลกรัมต่อไร่)
1.4.6 การวิเคราะห์ข้อมูล น าข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ยและเปรียบเทียบกัน โดยไม่วิเคราะห์ผล
ความแตกต่างในทางสถิติ
1.5 ขอบเขตการศึกษา
ท าการศึกษาในศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินต าบลหนองไผ่ กลุ่มชุดดินที่ 31 ชุดดินวังไห
(Wang Hai series: Wi) ครอบคลุมพื้นที่ 10 ไร่ พันธุ์ข้าวโพดหวานที่ใช้ คือ พันธุ์ลูกผสม (อินทรี 2) และ
เก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อข้าวโพดหวานอายุประมาณ 75 วัน