Page 18 - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน : กรณีศึกษาการปลูกข้าวโพดหวาน บ้านท่าพยอม ตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี
P. 18

6


                  1.4 ขั้นตอนและวิธีด าเนินงาน
                         1.4.1 การคัดเลือกพื้นที่

                                สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของต าบลบ้านหนองไผ่ อ าเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี
                  เป็นที่ดอน ประชากรส่วนใหญ่ใช้พื้นที่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ในช่วงที่ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทาง
                  การเกษตรปรับราคา เกษตรกรต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ในขณะที่ราคาจ าหน่ายผลผลิต
                  ทางการเกษตรไม่ได้ปรับตามขึ้นไป การปลูกพืชซ้ าในพื้นที่เดิมอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการปรับปรุงบ ารุงดิน

                  จะท าให้ดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ไปอย่างรวดเร็ว ดินจะแข็ง ไม่ร่วนซุย การดูดซับน้ าและธาตุอาหารได้
                  น้อยลง มีปัญหาโรคและแมลงระบาดท าให้ผลผลิตลดลง เกษตรกรจึงต้องใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทาง
                  การเกษตรในปริมาณที่มากขึ้น เป็นผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย
                                การพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ ได้คัดเลือกพื้นที่บ้านท่าพยอม บ้านเลขที่ 144/2 หมู่ที่ 4

                  ต าบลหนองไผ่ อ าเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีขนาดพื้นที่ 7 ไร่ ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์
                  E 0545320 N 1526218 โดยเจ้าของแปลงชื่อ นายสมหวัง อินทรโอสถ มีความสนใจงานพัฒนาที่ดิน และ
                  เป็นหมอดินอาสาประจ าต าบลที่มีความรับผิดชอบ สถานที่อยู่ใกล้ชุมชน การคมนาคมสะดวก พบว่าพื้นที่ที่
                  ได้รับการคัดเลือกไว้มีปัญหาเกี่ยวดิน 3 ประการ คือ

                                1) ดินขาดอินทรียวัตถุเนื่องจากใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีติดต่อกันเป็นเวลานาน
                                2) มีการระบาดของแมลงศัตรูพืช
                                3) ดินแข็งแน่นทึบ

                         1.4.2 วิเคราะห์ปัญหาในพื้นที่ที่ด าเนินการ
                                จากสภาพปัญหาที่พบภายในศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน เป็นปัญหาด้าน
                  ศักยภาพของพื้นที่ และปัญหาด้านแมลงศัตรูพืช จึงใช้แนวทางและนวัตกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน ดังนี้
                                1)  ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสดเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน

                  ท าให้อนุภาคดินเกาะตัวกันเป็นเม็ดดินและก้อนดินมากขึ้น มีสัดส่วนของช่องขนาดเล็กและใหญ่ใน
                  โครงสร้างดินที่เหมาะสม ความชื้นเป็นประโยชน์ในดินจึงสูงขึ้น และช่วยปรับสมบัติทางเคมีของดินอันเป็น
                  ผลให้เพิ่มธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและจุลธาตุให้แก่พืชอย่างช้าๆ
                                2)  การรักษาความชื้นในดิน ดินมักขาดแคลนน้ าในการปลูกพืชช่วงฤดูแล้ง จึงควรรักษา

                  ความชื้นในดินโดยใช้วัสดุ เช่น ฟางข้าวหรือใบหญ้าแฝกคลุมผิวดินระหว่างแถวพืช ปลูกหญ้าแฝกในสวนไม้
                  ผลหรือไม้ยืนต้น นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาแหล่งน้ าให้เพียงพอส าหรับการปลูกพืชในช่วงฤดูแล้งด้วย
                                3)  ปลูกพืชบ ารุงดิน ได้แก่ ปลูกพืชหมุนเวียนโดยปลูกพืชตระกูลถั่วสลับกับการปลูกพืช

                  หลัก ปลูกพืชปุ๋ยสดแล้วไถกลบเมื่อออกดอก ปลูกพืชตระกูลถั่วแซมระหว่างแถวพืชหลัก ปลูกพืชตระกูลถั่ว
                  คลุมดินในสวนผลไม้และไม้ยืนต้น

                         1.4.3 การด าเนินการแก้ไขปัญหา

                                จากปัญหาเบื้องต้น โดยอาศัยแนวทางและนวัตกรรมของกรมพัฒนาที่ดินเพื่อแก้ปัญหา
                  ด้านกายภาพและด้านเศรษฐกิจ ดังนี้
                                1)  ผลิตและใช้ปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1  เพื่อปรับโครงสร้างดินและเพิ่มความ
                  สมบูรณ์ของดินในการปลูกข้าวโพดฝักสด
                                2)  ใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ผลิตน้ าหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิต และลดต้นทุนการผลิต

                  ข้าวโพดฝักสด
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23