Page 57 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับถั่วพร้าต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในชุดดินนครปฐม
P. 57

45




                                      4.3  น้ าหนักฝักอ่อนที่แจกแจงตามกลุ่มขนาดข้าวโพดฝักอ่อน

                                ผลของวิธีการทดลองต่อน้ าหนักฝักอ่อนมาตรฐาน  ซึ่งเป็นผลรวมของน้ าหนักฝักอ่อนที่

                  ได้ผ่านการคัดขนาดมาตรฐาน  (เล็ก  กลาง  และใหญ่)  ของข้าวโพดฝักอ่อนหลังการเก็บเกี่ยว (ตารางที่ 9)
                  พบว่า  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ    โดยที่น้ าหนักฝักอ่อนขนาดเล็ก  พบว่า การปลูกถั่ว

                  พร้า (วิธีการที่ 3) มีน้ าหนักฝักอ่อนมากที่สุด  คือ  44.47  กิโลกรัมต่อไร่  ส่วนการใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร

                  (วิธีการที่ 2)    การใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพียงอย่างเดียว (วิธีการที่ 4)  และการปลูกถั่วพร้าร่วมกับ

                  ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง (วิธีการที่ 5)  มีน้ าหนักฝักอ่อนไม่แตกต่างกัน เท่ากับ 27.75, 27.84  และ  26.64
                  กิโลกรัมต่อไร่  ตามล าดับส่วนน้ าหนักฝักอ่อนขนาดกลาง พบว่า  วิธีการที่ 5 (ปลูกถั่วพร้าร่วมกับการใส่

                  ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง) มีน้ าหนักฝักอ่อนมากที่สุด เท่ากับ  373.10  กิโลกรัมต่อไร่  รองลงมา  คือวิธีของ

                  เกษตรกร  (วิธีการที่ 2)   มีน้ าหนักฝักอ่อนเท่ากับ คือ 327.67  กิโลกรัมต่อไร่  และวิธีการควบคุม (วิธีการ
                  ที่ 1)  ให้น้ าหนักฝักอ่อนต่ าที่สุด  เท่ากับ  158.15  กิโลกรัมต่อไร่  และน้ าหนักฝักอ่อนขนาดใหญ่  พบว่า

                  วิธีของเกษตรกร  (T )   ให้น้ าหนักผลผลิตมากที่สุด  คือ  228.75  กิโลกรัมต่อไร่  รองลงมาคือ  วิธีการ
                                   2
                  ปลูกถั่วพร้าร่วมกับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง  (วิธีการที่ 5) เท่ากับ  165.24  กิโลกรัมต่อไร่ และวิธีการ
                  ไม่ใส่ปุ๋ย  (วิธีการที่ 1)  ให้น้ าหนักผลผลิตน้อยที่สุด เท่ากับ  54.24  กิโลกรัมต่อไร่

                                ผลของวิธีการทดลองต่อน้ าหนักรวมของฝักที่แจกแจงในกลุ่มที่ไม่ได้มาตรฐาน  (ตาราง

                  ที่ 9) พบว่า  มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยส าคัญ  โดยวิธีการควบคุม   (วิธีการที่ 1)   ให้น้ าหนัก
                  ฝักมากที่สุด เท่ากับ 37.43  กิโลกรัมต่อไร่  รองลงมา วิธีการปลูกถั่วพร้าร่วมกับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์

                  คุณภาพสูง (วิธีการที่ 5)  และวิธีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง  (วิธีการที่ 4) มีน้ าหนักฝักสดไม่แตกต่างกัน

                  เท่ากับ  28.25 และ  26.99 กิโลกรัมต่อไร่  ตามล าดับ  และวิธีการปลูกถั่วพร้า   (วิธีการที่ 3)  และวิธีการ

                  ของเกษตรกร (วิธีการที่ 2)  ให้ผลผลิตน้ าหนักน้อยที่สุด  คือ  23.61  และ  22.03  กิโลกรัมต่อไร่
                  ตามล าดับ

                               ผลของวิธีการทดลองต่อน้ าหนักรวมของฝักอ่อนที่แจกแจงในแต่ละกลุ่มขนาด

                  มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐาน พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ โดยวิธีการที่มีการใช้
                  ปุ๋ยพืชสดอย่างเดียว น้ าหนักฝักสดอ่อนกลุ่มขนาดเล็กมากที่สุด วิธีการใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์

                  คุณภาพสูง ให้น้ าหนักฝักอ่อนขนาดกลางมากที่สุด วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกรให้น้ าหนักฝักอ่อน

                  ขนาดใหญ่มากที่สุด และวิธีการที่ไม่ใส่ปุ๋ยให้น้ าหนักฝักขนาดไม่ได้มาตรฐานมากที่สุด จากการแจกแจง

                  ขนาดมาตรฐานในการทดลองนี้  จะเห็นว่า วิธีการปลูกถั่วพร้าเพียงอย่างเดียวมีน้ าหนักฝักสดอ่อนกลุ่ม
                  ขนาดเล็กมากกว่าวิธีการอื่นๆ Singh (1984) กล่าวว่าการใช้ปุ๋ยพืชสดจ าพวกพืชตระกูลถั่วร่วมในระบบ

                  การปลูกพืชเป็นวิธีที่เหมาะสมในการปรับปรุงบ ารุงดิน  เพราะเป็นแหล่งธาตุไนโตรเจนที่ได้จาก

                  ธรรมชาติซึ่งมีราคาถูก  แล้วยังปรับปรุงความสามารถในการให้ผลผลิตของดิน  (soil  productivity)  ดีขึ้น
                  เช่นเดียวกับ กมลาภา (2549)  ได้ศึกษาผลของปุ๋ยพืชสดตระกูลถั่วต่อสมบัติทางเคมีและชีวภาพของดิน
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62