Page 61 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับถั่วพร้าต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในชุดดินนครปฐม
P. 61

49




                                                            สรุป



                                       จากการศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับถั่วพร้า ต่อการผลิตของข้าวโพด

                  ฝักอ่อนในชุดดินนครปฐม  ท าการทดลองต าบลปากแพรก  อ าเภอเมือง  จังหวัดกาญจนบุรี   ตั้งแต่เดือน
                  พฤษภาคม  2556  ถึงเดือนกุมภาพันธ์  2557  ได้ท าการศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง  การใช้

                  ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยพืชสด  และการใช้ปุ๋ยเคมีแบบเกษตรกรต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน

                  ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ  สามารถสรุปได้ดังนี้

                                      1. การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีบางประการของดิน  แตกต่างกันในหลังการทดลอง ซึ่ง
                  การเปลี่ยนแปลงของความเป็นกรดเป็นด่างของดิน  ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน  ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็น

                  ประโยชน์ และปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ จะขึ้นอยู่กับปริมาณธาตุอาหารในดินก่อนการ

                  ทดลอง ปริมาณธาตุอาหารที่ได้จากปุ๋ยเคมี ถั่วพร้า ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง และปริมาณการดูดใช้ธาตุ
                  อาหารของข้าวโพดฝักอ่อน โดยวิธีการใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร และวิธีการไม่ใส่ปุ๋ยท าให้ปริมาณ

                  อินทรียวัตถุในดินมีระดับค่อนข้างต่ ากว่าวิธีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง และวิธีการปลูกถั่วพร้า ส่วน

                  ความเป็นกรดเป็นด่างหลังการทดลองของทุกวิธีการมีค่าไม่แตกต่างกัน อยู่ในระดับด่างเล็กน้อย ปริมาณ

                  ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ของทุกวิธีการมีปริมาณลดลงจากเดิม และ
                  ปริมาณธาตุอาหารทั้งสองอยู่ในระดับที่สูง

                                      2. การใส่ปุ๋ยของวิธีเกษตรกรมีการเจริญเติบโตด้านความสูงและผลผลิตน้ าฝักสดของ

                  ข้าวโพดฝักอ่อนสูงที่สุด แต่เมื่อพิจารณาวิธีการใช้วัสดุอินทรีย์ต่างๆ  พบว่า วิธีการปลูกถั่วพร้าร่วมกับปุ๋ย
                  อินทรีย์คุณภาพสูงอัตรา 1,000  กิโลกรัม   มีการเจริญเติบโตด้านความสูงและผลผลิตน้ าฝักสดสูงกว่า

                  วิธีการปลูกถั่วพร้า และการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพียงอย่างเดียว และน้ าหนักฝักอ่อนที่แจกแจงในแต่

                  ละกลุ่มมาตรฐาน โดยวิธีการที่มีการใช้ปุ๋ยพืชสดอย่างเดียว ให้น้ าหนักฝักอ่อนกลุ่มขนาดเล็กมากที่สุด
                  วิธีการใส่ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ให้น้ าหนักฝักอ่อนขนาดกลางมากที่สุด และวิธีการใส่

                  ปุ๋ยเคมีของวิธีเกษตรกรกรให้น้ าหนักฝักอ่อนขนาดใหญ่มากที่สุด

                                      3.  จากการประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ  ของการใช้วิธีเกษตรกร  การปลูกถั่วพร้า
                  ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง  การปลูกถั่วพร้า  และการใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพียงอย่างเดียวต่อ

                  การผลิตข้าวโพดฝักอ่อน  โดยใช้ค่าต้นทุนผันแปรต่างๆ  คือ  ค่าใช้จ่ายในเขตกรรม  ค่าใช้จ่ายของปัจจัย

                  การผลิต  และวิธีการปลูกถั่วพร้าร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง  มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมาก

                  ที่สุด  เท่ากับ  9,579.44  บาทต่อไร่  ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับก าไรสุทธิของวิธีเกษตรกร  (วิธีการที่  2)  เท่ากับ
                  9,071.44  บาทต่อไร่  และวิธีการปลูกถั่วพร้าร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเป็นวิธีการที่เหมาะสมใน

                  การเพิ่มผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในชุดดินนครปฐม  เนื่องจากวิธีการนี้จะให้ผลผลิตที่ค่อนข้างดี

                  มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุด  พร้อมทั้งมีการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66