Page 11 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับถั่วพร้าต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในชุดดินนครปฐม
P. 11
ชื่อโครงการวิจัย การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับถั่วพร้า ต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในชุดดินนครปฐม
Effect of high quality organic fertilizer with Jack bean for Baby corn
Production in Nakhon Pathom series.
ทะเบียนวิจัยเลขที่ 56 -57-03-12-40000-024-107-01-11
กลุ่มชุดดิน ชุดดินนครปฐม (Np)
ผู้ด าเนินการ นายจิระพล พิมภู (Mr. Jirapon Pimpou)
ผู้ร่วมด าเนินการ นายอุกฤษฏ์ ศิริปโชติ (Mr. Aukrit Siripachote)
นายยอดรัก นาคทรัพย์ (Mr. Yodruk Naksub)
บทคัดย่อ
การศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับถั่วพร้า ต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในชุดดิน
นครปฐม โดยท าการศึกษาในพื้นที่เกษตรกร ต าบลปากแพรก อ าเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ในเดือน
พฤษภาคม 2556 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2557 เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินจากการใช้ปุ๋ย
อินทรีย์คุณภาพสูง การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยพืชสดที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต
ข้าวโพดฝักอ่อน และศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete
Block Design (RCBD) จ านวน 4 ซ้ า 5 วิธีการทดลอง คือ วิธีการที่ 1 แปลงควบคุม (ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี) วิธีการ
ที่ 2 วิธีการของเกษตรกร วิธีการที่ 3 ปลูกถั่วพร้า 10 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีการที่ 4 ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
1,000 กิโลกรัมต่อไร่ และวิธีการที่ 5 ปลูกถั่วพร้า 10 กิโลกรัมต่อไร่กับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง 1,000
กิโลกรัมต่อไร่ ผลการศึกษาพบว่า ดินหลังการทดลองมีปริมาณธาตุอาหารมีแนวโน้มลดลง คือ ปริมาณ
อินทรียวัตถุ 1.08 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปริมาณ
โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ 183 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในด้านผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อน พบว่า การปลูกถั่ว
พร้าร่วมกับใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ท าให้ข้าวโพดฝักอ่อนให้ผลผลิตสูงสุด เท่ากับ
3,381.36 กิโลกรัมต่อไร่ และมีผลผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุดเท่ากับ 9,579.44 บาทต่อไร่ และจาก
การศึกษาครั้งนี้วิธีการปลูกถั่วพร้าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นวิธีการที่ดีที่สุด
ส าหรับการปลูกข้าวโพดฝักอ่อนบนชุดดินนครปฐม