Page 7 - รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่มที่ 1 ดินบนพื้นที่ราบต่ำ
P. 7
6
การกําหนดคําแนะนําในการใชปุยสําหรับแตละพืชที่ปลูกในแตละกลุมดินนั้น ไดยึดถือคามัธยฐาน
ของผลการวิเคราะหดินแตกลุมชุดดินเปนแนวทาง อยางไรก็ตามเพื่อความรอบคอบไดแสดงตารางคา
มัธยฐานของผลการวิเคราะหดินของแตละชุดดินไวดวย หากชุดดินใดมีผลการวิเคราะหปริมาณอินทรียวัตถุ
ฟอสฟอรัสที่เปนประโยชน และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได ต่ํากวาคามัธยฐานของกลุมชุดดินนั้น
คอนขางมากแลว จะใหคําแนะนําการใชปุยเพิ่มเติมเฉพาะชุดดินนั้นเปนพิเศษ
อยางไรก็ตามในปจจุบันนี้ กรมพัฒนาที่ดินไดจัดบริการวิเคราะหดินทางเคมี แกเกษตรกรอยาง
กวางขวาง ดังนั้นหากเกษตรกรรายใดนําตัวอยางดินไปใหเจาหนาที่วิเคราะหดินทางเคมีโดยตรง ก็ควรใช
ผลการวิเคราะหนั้นเปนแนวทางในการใสปุย เนื่องจากเปนผลการวิเคราะหตัวอยางดินที่เก็บอยางถูกตอง
จากแปลงของเกษตรกรเอง จึงมีความแมนยํากวา
สําหรับการจําแนกระดับความอุดมสมบูรณของดินนา เพื่อเปนแนวทางในการกําหนดชนิดและ
อัตราปุย ไดใชเกณฑของสถาบันวิจัยขาว ซึ่งพิจารณาผลการวิเคราะหปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสที่
เปนประโยชน และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได โดยนําผลการวิเคราะหแตละรายการมาจัดเกณฑที่ถือวา
ต่ํา ปานกลางและสูง ดังแสดงไวในตารางที่ ก4
ตารางที่ ก4 การประเมินความอุดมสมบูรณของดินนาจากคาวิเคราะหดิน
อินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสที่เปนประโยชน โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยน
ระดับความอุดมสมบูรณ
(%) (มก./กก.) ได(มก./กก.)
ต่ํา นอยกวา 1 นอยกวา 5 นอยกวา 60
ปานกลาง 1 -2 5 -10 60 -80
สูง มากกวา 2 มากกวา 10 มากกวา 80
ที่มา: สถาบันวิจัยขาว (2547)
2.2 การจัดความเหมาะสมของกลุมดินสําหรับปลูกพืชชนิดตางๆ
การจัดความเหมาะสมของกลุมดินเพื่อการปลูกพืชชนิดตางๆ ไดจัดไว 3 ระดับ คือ ชั้นที่ 1
เหมาะสม ชั้นที่ 2 ไมคอยเหมาะสม และชั้นที่ 3 ไมเหมาะสม อยางไรก็ตามการจัดความเหมาะสมครั้งนี้ ยัง
แบงออกเปน 3 สวนดวยกัน คือ
2.2.1 ความเหมาะสมของกลุมดินสําหรับการปลูกพืชในฤดูเพาะปลูกปกติ คือปลูกในฤดูฝน
อาศัยน้ําฝนเพียงอยางเดียว ซึ่งเรียกวาจัดความเหมาะสมตามสภาวะแวดลอมของดินที่เปนอยูในสภาพ
ธรรมชาติ (actual soil suitability classification)