Page 337 - รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่มที่ 1 ดินบนพื้นที่ราบต่ำ
P. 337

323



                  5. ปญหาและขอจํากัดในการปลูกพืช

                          5.1 น้ําทวมในบางพื้นที่  เนื่องจากกลุมชุดดินนี้พบบริเวณฝงแมน้ํา ซึ่งบางปอาจมีน้ําทวมในฤดูฝน

                  ทําใหพืชที่ปลูกเสียหาย

                          5.2 เนื้อดินคอนขางเปนทราย  ทําใหธาตุอาหารพืชสูญเสียเนื่องจากการชะลางไดงาย และดินจะ

                  แหงเร็วในฤดูแลงหรือระยะที่ฝนทิ้งชวง


                          5.3 ความอุดมสมบูรณของดินต่ํา  ในบางชุดดินมีปญหาการขาดแคลนธาตุอาหารบางธาตุ

                          5.4 ดินอุมน้ําไดนอย  เปนเหตุใหพืชขาดน้ําไดงาย จําเปนตองใหน้ําบอยๆ


                  6. การจัดการเพื่อใหเหมาะสมในการปลูกพืช

                          6.1 แกปญหาน้ําทวม  โดยทําคันดินกั้นน้ํา พรอมทั้งจัดระบบการระบายน้ําที่ทวมขังออกจากพื้นที่

                  เพาะปลูก หรือการปรับชวงเวลาในการปลูกพืชเพื่อหลีกเลี่ยงสภาพน้ําทวมขัง

                          6.2 ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน  เนื่องจากในบางพื้นที่ดินคอนขางเปนทราย จึงควรใชปุย

                  อินทรีย เชน ปุยคอกหรือปุยหมัก อัตรา 1-2 ตัน/ไร หรือทําปุยพืชสดเปนประจําทุกป โดยปลูกพืชตระกูลถั่ว

                  กอนปลูกพืชหลัก 2  เดือน  แลวไถกลบเมื่อพืชปุยสดออกดอกประมาณ 50  เปอรเซ็นต ทั้งสองวิธีนี้จะชวย

                  เพิ่มอินทรียวัตถุใหแกดินและทําใหดินอุมน้ําดีขึ้น

                          6.3 รักษาความชื้นในดิน  โดย 1) ใชวัสดุคลุมดิน เชน เศษซากพืชคลุมระหวางแถวพืช หรือ 2) ปลูกพืช

                  คลุมดินระหวางแถวไมผลและไมโตเร็ว ทั้งสองวิธีนี้นอกจากจะชวยลดการสูญเสียความชื้นในดินแลว ยัง

                  ปองกันการกัดเซาะดินในฤดูฝนอีกดวย

                          6.4 แกปญหาการขาดแคลนน้ําเพื่อการเพาะปลูก  โดยการ 1) สูบน้ําจากแหลงน้ําธรรมชาติที่อยู

                  ใกลเคียง หรือ 2) พัฒนาแหลงน้ําในพื้นที่

                          6.5 ปรับปรุงความอุดมสมบูรณของดิน


                         6.5.1  ใชปุยอินทรีย  ไดแก ปุยคอกหรือปุยหมักอัตราประมาณ 2  ตัน/ไร หรือปลูกพืชปุยสดแลวไถ

                  กลบลงไปในดิน เมื่อปุยอินทรียเหลานี้สลายตัว จะปลดปลอยธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและจุลธาตุ
                  ใหแกพืชอยางชาๆ นอกจากนี้ยังชวยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ เคมีและชีวภาพของดินใหดีขึ้นอีกดวย

                         6.5.2  ปลูกพืชหมุนเวียน โดยใหมีพืชบํารุงดิน คือ พืชตระกูลถั่ว อยูในระบบการปลูกพืชหมุนเวียน

                  กับพืชหลัก เชน พืชไรหรือพืชผัก นอกจากนี้ยังอาจใชวิธีปลูกพืชแซม เชน 1) ปลูกพืชตระกูลถั่วแซมระหวาง

                  แถวขาวโพดหรือแถวพืชไรอื่นๆ หรือ 2) ปลูกพืชตระกูลถั่วระหวางแถวไมผลหรือไมยืนตน  ซึ่งจะชวย
                  ปรับปรุงความอุดมสมบูรณของดินและกอใหเกิดรายไดเสริมดวย

                         6.5.3 ในกรณีที่ดินยังขาดแคลนธาตุอาหารบางธาตุ ควรเสริมดวยการใชปุยเคมีตามความจําเปน
   332   333   334   335   336   337   338   339   340   341   342