Page 288 - รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่มที่ 1 ดินบนพื้นที่ราบต่ำ
P. 288

274



                  มาตรการเชิงกลมาใชดวย เชน ทําคันดิน คันเบนน้ํา ทางระบายน้ํา บอดักตะกอนรวมทั้งสระน้ําประจําไรนา

                  เพื่อเก็บกักน้ําไวใชประโยชนในระยะฝนทิ้งชวงและในฤดูแลง  แตตองดําเนินการดวยความระมัดระวัง
                  เนื่องจากความทนทานของคันดินซึ่งเปนดินเนื้อหยาบมีคอนขางนอย  จําเปนตองเนนมาตรการทางพืชมาก

                  เปนพิเศษ


                          6.6 การจัดการดิน  เพื่อแกปญหาการตางๆ ที่เปนอุปสรรคตอการใชประโยชนที่ดิน จนเกิดสภาพที่

                  เหมาะสมสําหรับแตละพืช :ซึ่งกลาวไวในหัวขอที่ 8

                  7. ขอเสนอแนะ

                         กลุมชุดดินนี้มีศักยภาพเหมาะสมในการปลูกพืชไร ไมผลหรือไมยืนตน  ไมดอก ไมประดับ และผัก

                  ตลอดจนพัฒนาเปนทุงหญาเลี้ยงสัตวมากกวาใชทํานา เนื่องจากสภาพพื้นที่ไมเหมาะสมและดินเก็บน้ําไม

                  คอยอยู อยางไรก็ตามเพื่อใหการใชประโยชนกลุมชุดดินนี้มีประสิทธิภาพสูง จึงควรทําการเกษตรแบบ

                  ผสมผสาน คือ มีกิจกรรมการเกษตรหลายๆ อยางในฟารม โดยแตละกิจกรรมมีลักษณะเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

                  เชน เลี้ยงผึ้งในสวนไมผล ปลูกพืชอาหารสัตวระหวางแถวไมผล  หรือปลูกพืชรวมกับการเลี้ยงสัตว เปนตน
                  ดังนั้นควรแบงพื้นที่การใชประโยชนออกเปนสวนๆ ดังนี้ 1) พื้นที่ปลูกพืชลมลุก ไดแก พืชไรอายุสั้น ไมดอก

                  และพืชผักตางๆ 2) พื้นที่ปลูกไมผล หรือไมยืนตน 3) พื้นที่ปลูกหญาเลี้ยงสัตว และ 4) พื้นที่ซึ่งใชพัฒนาเปน

                  แหลงน้ํา สําหรับแหลงน้ําที่พัฒนาเพื่อการเพาะปลูกนี้ควรใชการเลี้ยงปลาดวย

                         สําหรับอัตราสวนการใชที่ดินในสามประเภทแรกนั้น ขึ้นอยูกับขนาดของพื้นที่ ทักษะและความ
                  พรอมของเกษตรกร ตลอดจนความตองการผลผลิตแตละชนิดของตลาดในทองถิ่นและนอกทองถิ่น อยางไร

                  ก็ตาม ควรยึดตามแนวทฤษฎีใหม ในการแกปญหาการขาดแคลนน้ําเพื่อการเกษตรของพระบาทสมเด็จพระ

                  เจาอยูหัว  ที่มีแนวพระราชดําริใหกันพื้นที่ประมาณ 30  เปอรเซ็นต  ของพื้นที่ถือครองเพื่อพัฒนาแหลงน้ํา

                  สําหรับใชในการเพาะปลูก เลี้ยงสัตวบก และสัตวน้ํา

                  8. การเตรียมดินสําหรับปลูกพืชชนิดตางๆ

                          8.1 การเตรียมดินสําหรับปลูกพืชไร


                         8.1.1 ปญหาดินเปนทรายความชื้นในดินต่ํา

                         เพิ่มอินทรียวัตถุในดินโดยใสปุยหมัก ปุยคอกอัตรา 1-3 ตัน/ไร หรือใชปุยพืชสดตระกูลถั่ว ไดแก ปอ

                  เทือง ถั่วพรา หรือถั่วพุม อัตราเมล็ดพันธุ 3-5 กก./ไร  สําหรับถั่วพราใชเมล็ดพันธุ อัตรา 8-10 กก./ไร หวาน
                  ใหทั่วแปลงในตอนตนฤดูฝนราวกลางเดือนเมษายนหรือตนเดือนพฤษภาคม เมื่อปุยพืชสดออกดอก 50

                  เปอรเซ็นต หรือมีอายุ 60 วัน จึงทําการไถกลบคลุกเคลาใหเขากับดิน พักดินไว 5-10 วัน จึงทําการปลูกพืช


                         8.1.2 ปญหาดินเกิดการชะลางพังทลาย  ปลูกพืชตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่

                  หรือใชระบบการปลูกพืชที่มีพืชตระกูลถั่วหมุนเวียน หรือแซมในระหวางแถวของพืชหลัก
   283   284   285   286   287   288   289   290   291   292   293