Page 287 - รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน เล่มที่ 1 ดินบนพื้นที่ราบต่ำ
P. 287

273



                  เนื่องจากดินแหงจัด  และการพัฒนาแหลงน้ําในพื้นที่ก็มักไมประสบผลสําเร็จ เนื่องจากดินมีความพรุนสูง

                  และไมเก็บน้ํา อยางไรก็ตามถาจะพัฒนาแหลงน้ําขนาดเล็ก ควรจัดทําในบริเวณที่มีชุดดินโคราช สตึก และ
                  ดอนไร ซึ่งดินชั้นลางสามารถเก็บกักน้ําไดดีกวาชุดดินอื่นๆ ในกลุมนี้


                          6.2 การจัดระบบการปลูกพืชใหเหมาะสม  โดยเลือกระบบตอไปนี้ คือ 1) การปลูกพืชหมุนเวียนที่

                  มีพืชตระกูลถั่วหมุนเวียนกับพืชอื่นในพื้นที่เดียวกัน และ 2) การปลูกพืชแซม โดยปลูกพืชตระกูลถั่วแซม

                  ระหวางแถวพืชหลัก นอกจากนี้ยังสามารถเลือกวิธีการบํารุงดิน โดยปลูกพืชปุยสดแลวไถกลบลงดินกอน
                  การปลูกพืชหลัก


                          6.3 การปรับปรุงความอุดมสมบูรณของดิน  จากสภาพของเนื้อดินที่เปนดินทรายและอินทรียวัตถุต่ํา

                  ความอุดมสมบูรณตามธรรมชาติกลุมชุดดินที่ 35 จึงต่ํา จําเปนตองใชปุยอินทรียรวมกับปุยเคมี สําหรับปุย

                  อินทรียควรใชปุยหมักหรือปุยคอก อัตรา 1-3  ตัน/ไร  หรือปลูกพืชตระกูลถั่วแลวไถกลบเปนปุยพืชสด หาก
                  ดินยังมีธาตุใดธาตุหนึ่งไมเพียงพอ ก็เสริมดวยปุยเคมีตามความจําเปน สําหรับคําแนะนําเรื่องสูตร อัตรา

                  และวิธีการใชปุยเคมีกับพืชตางๆ ซึ่งกลาวไวในหัวขอที่ 9

                          6.4 การปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน  กลุมชุดดินที่ 35 มีปญหาดานกายภาพดังนี้ คือ เนื้อ

                  ดินคอนขางเปนทรายและมีอินทรียวัตถุต่ํา  เมื่อมีการไถพรวนบอยครั้ง จะทําใหโครงสรางของดินแตก

                  ทําลาย ดินจึงแนนทึบ หรือมีชั้นดินดานใตชั้นไถพรวน เปนอุปสรรคตอการชอนไชของรากพืช จึงควรปรับปรุง

                  โดย 1) ใสปุยอินทรีย เชน ปุยคอก หรือปุยหมัก อัตรา 1-3 ตัน/ไร หรือ 2) ใสวัสดุปรับปรุงดิน เชน ขี้เลื่อย เปลือกถั่ว

                  ลิสง เปลือกถั่วเหลือง และเศษพืชตาง ๆ หวานและไถกลบลงไปในดิน  หรือ3) ทําปุยพืชสด โดยปลูกพืช
                  ตระกูลถั่ว เชน ปอเทือง ถั่วพรา ถั่วพุม ดวยการหวานเมล็ดพืชดังกลาวเมื่อเริ่มมีฝนตก หรือประมาณปลาย

                  เดือนเมษายน หรือตนเดือนพฤษภาคม เมื่อถั่วเริ่มออกดอกก็ไถกลบลงไปในดิน ทิ้งไว 5-10 วัน จึงเตรียมดิน

                  เพื่อปลูกพืชหลัก สําหรับปุยอินทรียและวัสดุปรับปรุงดินที่ไถกลบแลว จะสลายตัวกลายเปนอินทรียวัตถุใน

                  ดิน  ทําหนาที่เชื่อมอนุภาคดินใหเกาะกันเปนเม็ดดิน เกิดเม็ดดินขนาดเล็กและขนาดใหญมากขึ้นและเปน

                  เม็ดดินที่มีเสถียรภาพ โครงสรางของดินจึงดีขึ้นตามลําดับ

                          6.5  การอนุรักษดินและน้ํา   กลุมชุดดินนี้มีศักยภาพที่จะเกิดการชะลางพังทลายสูง เนื่องจาก 1)

                  ดินบนคอนขางเปนทราย และ 2) มีความลาดเทอยูระหวาง 2-20 เปอรเซ็นต สําหรับพื้นที่ซึ่งมีความลาดเท
                  เกิน 12 เปอรเซ็นต หากไมมีมาตรการอนุรักษดินและน้ําที่เหมาะสม จะเกิดการชะลางพังทลายอยางรุนแรง

                  สําหรับมาตรการอนุรักษดินและน้ํา มี 2 แบบ คือ มาตรการทางพืช และทางเชิงกล สําหรับมาตรการทางพืช

                  ไดแก 1) การปลูกพืชเปนแถวตามแนวระดับขวางความลาดเท 2) การปลูกพืชเปนแถบตามแนวระดับขวาง

                  ความลาดเท 3) การปลูกพืชคลุมดิน แนวปฏิบัติที่แนะนําในปจจุบันนี้ ไดแก การปลูกแถบหญาแฝกตาม

                  แนวระดับ  ปลูกพืชตระกูลถั่ว  หรือไมพุมยืนตนตระกูลถั่วสลับกับแถวพืชหลักตามแนวระดับ และการปลูก
                  พืชตระกูลถั่วแซมพืชหลัก  เปนตน สําหรับบริเวณที่มีความลาดชันตั้งแต 12  เปอรเซ็นต  ขึ้นไป อาจตองนํา
   282   283   284   285   286   287   288   289   290   291   292