Page 29 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเงาะ
P. 29

2-9








                       2.3    ทรัพยากรดิน


                                ทรัพยากรดินเปนทรัพยากรธรรมชาติที่มีความจําเปนตอการดํารงชีพของมนุษย   ซึ่งจะมี
                       ความแตกตางกันตามสภาพแวดลอม  สงผลใหมีลักษณะและการใชประโยชนที่แตกตางกันตามไปดวย

                       กรมพัฒนาที่ดินไดสํารวจและจําแนกดินทั่วประเทศ   โดยศึกษาลักษณะทางกายภาพและเคมีเปนหลัก

                       และจัดทําแผนที่ชุดดินพรอมรายงาน   และเนื่องจากชุดดินในประเทศไทยมีเปนจํานวนมาก

                       เพื่อประโยชนในดานการจัดการพื้นที่จึงมีการรวมชุดดินเปนกลุมชุดดิน   โดยใชลักษณะของดิน
                       ที่มีความคลายคลึงกันหรือมีลักษณะเดนที่สามารถจัดการรวมกันได  เชน ดินเหนียว ดินตื้น ดินรวน

                       ริมแมน้ํา  ดินทรายหนามากกวา 100 เซนติเมตร ดินลึกปานกลางมีชั้นดาน ดินตื้นถึงหินพื้น ดินอินทรีย

                       ที่ระดับ 40 - 100 เซนติเมตร ดินลาดเชิงเขา เปนตน โดยสามารถแบงเปน 2 กลุมหลักตามสภาพความชื้น
                       ซึ่งพบในที่ลุมและที่ดอน แผนที่กลุมชุดดินที่จัดทําขึ้นมีทั้งในรูปแบบของแผนที่ และขอมูลเชิงตัวเลข

                       (digital) สําหรับใชในโปรแกรมทางดานสารสนเทศภูมิศาสตร โดยลักษณะดินที่พบทางภาคตะวันออก

                       และภาคใตสามารถจําแนกไดดังตอไปนี้


                        2.3.1  ภาคตะวันออก


                                สถานภาพของทรัพยากรดินในภาคตะวันออกคอนขางจะแตกตางกันมากทั้งในดาน

                       ภูมิอากาศดิน (soil climate)    วัตถุตนกําเนิดดิน   และพืชพรรณที่ขึ้นปกคลุม (vegetative  covers)

                       ทั้งนี้เนื่องจากสภาพภูมิอากาศในบางพื้นที่มีลักษณะเหมือนภาคใต เชน จังหวัดจันทบุรีและตราด
                       บางพื้นที่เหมือนกับภาคกลาง เชน จังหวัดชลบุรี   ฉะเชิงเทรา   เปนตน   ลักษณะทางธรณีสัณฐาน

                       และวัตถุตนกําเนิดดิน   พอจะแบงออกเปนพวกใหญไดดังนี้

                                1.)  ธรณีสัณฐานที่เกิดจากการทับถมของตะกอน (landforms     developed    from

                       transported   materials) แบงออกตามลักษณะพื้นที่   ดิน   และการใชประโยชน   ดังนี้
                                   1.1)  ธรณีสัณฐานที่เปนชายหาดหรือสันทรายริมฝงทะเล (beach and dune)

                       พบอยูบริเวณฝงทะเลและเปนแนวยาวขนานไปกับชายฝง   มีความกวางไมแนนอนขึ้นกับลักษณะ

                       ของชายฝง   และมักมีที่ลุมสลับอยูกับสันทราย   วัตถุตนกําเนิดดินบริเวณนี้เปนตะกอนทราย
                       ที่น้ําทะเลพัดมาทับถม   ดังนั้นดินจึงมีลักษณะเนื้อดินเปนทรายจัดหรือเนื้อหยาบตลอดหนาตัดของดิน

                       มีการระบายน้ําดีมาก   ความอุดมสมบูรณต่ํา   สภาพพื้นที่เปนลูกคลื่นลอนลาด   ความลาดชันอยูระหวาง

                       รอยละ 2 - 5 พืชพรรณที่ขึ้นอยูเปนปาชายหาด และปลูกมะพราวบางสวน สภาพธรณีสัณฐานชนิดนี้
                       พบบริเวณกวางในจังหวัดจันทบุรีและระยอง









                       เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจ เงาะ                                                                                             สํานักสํารวจดินและวางแผนการใชที่ดิน
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34