Page 113 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเงาะ
P. 113

4-2








               ของตนทุนนั้นจําแนกยอยเปนตนทุนที่เปนเงินสดและไมเปนเงินสด การวิเคราะหผลตอบแทน
               จากการผลิตจึงไดวิเคราะหตามตนทุนที่จําแนกไวคือจะพิจารณาจากผลตอบแทนเหนือตนทุนเงินสด

               ผลตอบแทนเหนือตนทุนผันแปรและผลตอบแทนเหนือตนทุนทั้งหมด  และการวิเคราะหขอมูล

               ของผลผลิตและราคาเสมือนกับเปนสวนเงาะแปลงเดียวกันตลอดชวงระยะเวลาของการลงทุน
               โครงการ เพื่อนํามาหาคาเฉลี่ยซึ่งอาจจะไมสอดคลองกับสภาพความเปนจริงในทางการปฏิบัติ

               แตดวยสภาพเงื่อนไขของการศึกษาในครั้งนี้ทั้งดานงบประมาณและระยะเวลาที่จํากัด ทําใหสามารถ

               ดําเนินการเทาที่เปนไปไดแตใหใกลเคียงความเปนจริงมากที่สุด และเนื่องจากเงาะเปนไมยืนตนที่มีอายุ
               การผลิตมากกวา 1 ป การศึกษาตนทุนและผลตอบแทนนอกจากการวิเคราะหตนทุนและผลตอบแทนพืช

               ตามปกติแลว ไดเพิ่มการวิเคราะหตามหลักเกณฑการประเมินโครงการเพื่อเปนแนวทางในการตัดสินใจ

               เกี่ยวกับการลงทุน โดยคํานวณมูลคาปจจุบัน (Net Present Value : NPV) ของตนทุนและผลตอบแทน
               การผลิตเงาะตลอดชวงอายุ 25 ป   อัตราคิดลด (Discount  Rate)ใชอัตราดอกเบี้ยเงินกูของธนาคาร

               เพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตรรอยละ 5.50 บาทตอป  คาผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยตอปไดจาก

               การปรับคามูลคาปจจุบันของตนทุน มูลคาผลผลิต(รายได) และผลตอบแทนดวยการคูณดวยตัวกอบกูทุน

               (Capital Recovery Factor : CRF)  ที่อัตราดอกเบี้ยเทากับอัตราที่ใชในการคํานวณ คาปจจุบันสุทธิ
               วิเคราะหคาอัตราผลตอบแทนตอตนทุน (Benefit cost ratio : B/C ratio)  เพื่อเปนเกณฑวัดประสิทธิภาพ

               การผลิต (Productivity) และเปรียบเทียบผลไดหรือผลตอบแทนที่ไดรับจากการลงทุนที่เทากัน

               สวนอัตราผลตอบแทนการลงทุน (Internal Rate of Return) นํามาเปรียบเทียบกับอัตราคิดลด

               ถาคาที่คํานวณไดมากกวาอัตราคิดลดที่ใชแสดงวาสมควรที่จะลงทุนตอไป  จุดคุมทุนหรือปที่คุมทุน
               ชี้ใหเห็นระยะเวลาคืนทุน (Payback  Period) ที่ผลตอบแทนสุทธิมีคาเทากับตนทุนการผลิต

               หรือเปนปที่ผลตอบแทนสะสมเริ่มมีคาเปนบวก  การวิเคราะหขอมูลตามหลักเกณฑดังกลาวนี้ทําให

               ทราบขอมูลดานตนทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีความสําคัญตอเกษตรกรในฐานะ
               ผูประกอบการโดยจะเปนขอมูลใหทราบถึงสถานะทางเศรษฐกิจที่จะตัดสินใจทําการผลิตหรือ

               ดําเนินการใหเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ  สามารถนําใชเปนขอมูลพื้นฐานในการวางแผนและ

               กําหนดเขตการผลิต นอกจากนี้ยังใชเปนขอมูลเปรียบเทียบกับผลตอบแทนจากการผลิตพืชชนิดอื่น
               รายละเอียดการวิเคราะหเปนดังนี้



                4.1.1  การใชปจจัยการผลิต ปการผลิต 2547/48

                        ปจจัยการผลิตตาง ๆ ที่ใชในการผลิตเงาะจากผลการสํารวจในปการผลิต 2547/48 พบวา

               เกษตรกรมีเนื้อที่เพาะปลูกเฉลี่ย 7.73 ไรตอราย เนื้อที่ใหผล 7.32 ไรตอราย จํานวนตนเงาะตอไร

               ประมาณ 18 ตน ขนาดของเนื้อที่ดังกลาวนับไดวาเปนสวนขนาดเล็ก การเตรียมดินใชเครื่องจักรไถ





               เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจ เงาะ                                                                                             สํานักสํารวจดินและวางแผนการใชที่ดิน
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118