Page 75 - รายงานการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลการสำรวจระยะไกลจากซอฟต์แวร์รหัสเปิดและคลาวด์คอมพิวติงเพื่องานพัฒนาที่ดิน Utilization of Remote Sensing Database derived from Open-source software and Cloud computing platform for Land Development
P. 75

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                           66







                                                              บทที่  5
                                                              บทสรุป

                       5.1 สรุป
                               ปัจจุบันข้อมูลการส ารวจระยะไกล ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากการจัดเก็บข้อมูลของวัตถุต่าง ๆ บน
                       พื้นโลกผ่านเครื่องมือที่ไม่ได้สัมผัสกับวัตถุเหล่านั้นทางกายภาพ เป็นปัจจัยพื้นฐานส าคัญส าหรับการ
                       ติดตามด้านสิ่งแวดล้อมและพืชผล เนื่องจากเป็นข้อมูลคุณภาพสูง สามารถวิเคราะห์ได้ตามช่วงเวลา

                       จ าเพาะส าหรับพี้นที่ ปัจจุบันเทคโนโลยี RS โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพถ่ายดาวเทียมและอากาศยานไร้คนขับ
                       (UAV) หรือโดรนมีความก้าวหน้าเป็นอย่างดียิ่ง ได้มีการพัฒนารายละเอียดภาพ (spatial resolution) ให้
                       สูงขึ้น จัดเก็บข้อมูลได้หลายช่วงคลื่น (spectral resolution) ส่งผลให้สามารถเลือกใช้ช่วงคลื่นที่
                       เหมาะสมต่อการศึกษาด้านต่างๆได้มากขึ้น ในด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อมเทคโนโลยีการส ารวจ

                       ระยะไกลมีศักยภาพสูงต่อการศึกษาการเจริญเติบโตของพืช ณ วันที่ท าการจัดเก็บข้อมูล เนื่องจากข้อมูล
                       ดังกล่าวมีการก าหนดค่าพิกัดบนพื้นโลก (Global Positioning System, GPS) ท าให้สามารถวิเคราะห์
                       และเชื่อมโยงกับข้อมูลอื่นๆ เชิงพื้นที่ได้ง่าย นอกจากนี้ข้อมูลดังกล่าวมีการจัดเก็บในรูปดิจิตอลไฟล์ส่งผล

                       ให้สามารถเก็บไว้ได้นาน ใช้พื้นที่น้อย และสามารถน าออกมาใช้งานได้ง่ายตามต้องการ การจัดท าและ
                       ปรับปรุงฐานข้อมูลแผนที่สภาพการใช้ที่ดินทั่วทั้งประเทศท าโดยการใช้ข้อมูลดาวเทียมรายละเอียดสูง
                       ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข ร่วมกับการส ารวจภาคสนามแล้วน ามาวิเคราะห์ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
                       จัดท าแผนที่สภาพการใช้ที่ดินและพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย นอกจากนี้ข้อมูลดาวเทียม
                       ยังสามารถน ามาใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น ใช้ในการจัดการปัจจัยการผลิต และการคาดการณ์ผลผลิต

                       ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจด้านการบริหารจัดการในแปลงปลูก โดยพิจารณาจากข้อมูลรีโมทเซ็นซิ่ง ณ เวลานั้น
                               จากความก้าวหน้าของซอฟต์แวร์รหัสเปิด (Open Source Software) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่มี
                       การเปิดเผยวิธีการท างานให้ผู้อื่น นอกเหนือจากผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้รับทราบ ท าให้ผู้ใช้งานสามารถ

                       เรียนรู้วิธีการท างานของซอฟต์แวร์ และปรับปรุงแก้ไขได้ด้วยต้นเอง รวมถึงการเผยแพร่ซอร์ซโค้ดได้อย่าง
                       สะดวก และคลาวด์คอมพิวติง (Cloud Computing) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ท าหน้าที่เป็น Host บริการผ่าน
                       อินเตอร์เน็ต ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถ จัดเก็บข้อมูล ด าเนินการ และ จัดการข้อมูลต่างๆ ครอบคลุมถึงการ
                       ให้ใช้ก าลังประมวลผล หน่วยจัดเก็บข้อมูล และระบบออนไลน์ต่างๆจากผู้ให้บริการ เพื่อลดความยุ่งยาก

                       ในการติดตั้ง ดูแลระบบ ช่วยประหยัดเวลา และลดต้นทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเอง
                       ซึ่งก็มีทั้งแบบบริการฟรีและแบบเก็บเงิน
                               กูเกิลเอิร์ธเอนจิน (Google Earth Engine: GEE) เป็นแพลตฟอร์มส าหรับแอปพลิเคชันภูมิ
                       สารสนเทศบนระบบคลาวด์ที่มีข้อมูลมากมายใช้ส าหรับการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์และการสร้างภาพ

                       (Visualization) จากชุดข้อมูลเชิงพื้นที่ (Geospatial information) ของภาพถ่ายดาวเทียม (Satellite
                       image) โดยกูเกิลได้จัดท าภาพถ่ายดาวเทียมและเก็บข้อมูลบันทึกย้อนหลังมากกว่า 40 ปี ไว้ในแบบ
                       คลังข้อมูลสาธารณะ (Data mining) โดยการใช้งานโปรแกรม GEE จะเป็นการเขียนโค้ดค าสั่ง (Code
                       editor) ในภาษา JavaScript เพื่อเรียกใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม น ามาวิเคราะห์และประมวลผลตาม
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80