Page 49 - รายงานการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลการสำรวจระยะไกลจากซอฟต์แวร์รหัสเปิดและคลาวด์คอมพิวติงเพื่องานพัฒนาที่ดิน Utilization of Remote Sensing Database derived from Open-source software and Cloud computing platform for Land Development
P. 49

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                           41







                       จ าแนก หากภาพที่ใช้ในการจ าแนกมีสิ่งรบกวน เช่น เงาของก้อนเมฆ มุมตกกระทบของแสงที่ท าให้วัตถุมี
                       ค่าการสะท้อนผิดเพี้ยนไปจากปกติ (Prama & Projo, 2016) และยังมีการน าอัลกอริทึมของระบบการ
                       เรียนรู้เครื่อง (Machine learning) มาประยุกต์ใช้ในการจ าแนกข้อมูลของภาพถ่ายดาวเทียม เนื่องจาก
                       อัลกอริทึมของระบบดังกล่าวเป็นอัลกอริทึมแบบไม่มีพารามิเตอร์ (Non-parametric algorithms) ไม่

                       ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับการกระจายของข้อมูล ไม่ใช้ตัวแปรหรือพารามิเตอร์ทางสถิติ (Statistical
                       parameters) ในการจ าแนกข้อมูล สามารถใช้จ าแนกข้อมูลที่มีการกระจายหลากหลายแบบ มีความ
                       รวดเร็วและแม่นย าในการจ าแนกข้อมูลที่มีความซับซ้อนและปริมาณมาก
                               การวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดินโดยใช้การเรียนรู้ของเครื่องจักรเป็นการพัฒนากระบวนการแปล

                       ตีความการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบอัตโนมัติ  ซึ่งเดิมการจ าแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม
                       ที่นิยมใช้กัน ได้แก่ การแปลตีความด้วยสายตา (Visual Interpretation) การแปลตีความด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
                       เป็นต้น  ซึ่งการจ าแนกขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของการแปลตีความที่หลากหลาย  ทั้งนี้กระบวนการด าเนินงาน
                       เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพต้องใช้ทั้งเวลาและบุคลากรที่มี  ความรู้ความช านาญ  ท าให้ข้อมูลที่ได้ไม่ทันต่อ

                       สถานการณ์ของผู้ใช้งาน ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีท าให้เกิด การพัฒนาประสิทธิภาพการท างาน โดย
                       มีการเปลี่ยนแปลงการท างานให้อยู่ในรูปแบบอัตโนมัติมากขึ้น  เช่นเดียวกับ  ผลงานการพัฒนากระบวนการแปล
                       ตีความการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ได้พัฒนาขึ้น  โดยกระบวนการประกอบด้วยการ  พัฒนาชุดค าสั่งส าหรับการ

                       ประมวลผลใน 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1.กระบวนการดาวน์โหลดข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม LANDSAT-8 แบบอัตโนมัติ
                       (API  Downloader)  2.กระบวนการเตรียมข้อมูลภาพจากดาวเทียม  LANDSAT-8  แบบอัตโนมัติ  (Pre-
                       processing) และ 3. การพัฒนาชุดค าสั่งส าหรับการจ าแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินด้วยวิธี Machine Learning
                       (Classification  Landuse  L1)  ผลการพัฒนากระบวนการจ าแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบอัตโนมัติจากข้อมูล
                       ภาพถ่ายดาวเทียม  LANDSAT-8  พบว่าช่วยลดระยะเวลาในการท างาน  เพิ่มความถี่ในการจ าแนกการใช้

                       ประโยชน์ที่ดินได้มากขึ้น  และสามารถประมวลผลได้แบบอัตโนมัติโดยปราศจากบุคลากรในการป้อนน าเข้าข้อมูล
                       (Input)  ซึ่งก่อให้เกิดการท างานที่เป็นระบบ  ไม่มีข้อจ ากัดเรื่องเวลาท างาน  อีกทั้งยังสามารถต่อยอดและพัฒนา
                       เพื่อน าไปประยุกต์ใช้ในการจ าแนกชั้นข้อมูลอื่นๆ ต่อไปได้

                               การแปลตีความภาพเพื่อจ าแนกวัตถุได้ดีและถูกต้อง  ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ  ดังกล่าว
                       ข้างต้นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างพร้อมๆ  กันไป  ตามความยากง่ายและมาตราส่วนที่แตกต่างกัน
                       ซึ่งอาจไม่แน่นอนเสมอไปรูปร่าง  สี  และขนาด  อาจใช้เป็นองค์ประกอบในการแปลตีความภาพพื้นที่หนึ่ง
                       หรือลักษณะหนึ่ง  ส่วนอีกบริเวณอื่นของพื้นที่เดียวกันอาจต้องใช้องค์ประกอบอีกอย่างก็ได้  นอกจากนี้

                       จ าเป็นต้องน าข้อมูลจากดาวเทียมอีก  3  ลักษณะมาประกอบการพิจารณา  คือ  ลักษณะการสะท้อนช่วง
                       คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของวัตถุ  (Spectral  characteristic)  ซึ่งสัมพันธ์กับความยาวช่วงคลื่นแสงในแต่ละ
                       แบนด์โดยวัตถุต่างๆ  สะท้อนแสงในแต่ละช่วงคลื่นไม่เท่ากัน  ท าให้สีของวัตถุในภาพแต่ละแบนด์แตกต่าง
                       กันในระดับสีขาว-ด า   ซึ่งท าให้สีแตกต่างในภาพสีผสมด้วย   ลักษณะรูปร่างของวัตถุที่ปรากฏในภาพ

                       (Spatial characteristic) แตกต่างตามมาตราส่วนและรายละเอียดภาพจากดาวเทียม เช่น MSS วัตถุหรือ
                       พื้นที่ขนาด  80×80  เมตร  จึงจะปรากฏในภาพ  และระบบ  PLA  มีขนาด  10×10  เมตร  เมื่อคุ้นเคยกับ
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54