Page 18 - การประเมินผลการจัดงานวันดินโลก ปี 2565 "Soils, Where food begins : อาหารก่อกำเนิดเกิดจากดิน"
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                         7





                          2.2 การเก็บรวบรวมข้อมูล

                              2.2.1 ข้อมูลปฐมภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามในรูปแบบออนไลน์และ
                   การสังเกตการณ์ภาพรวมของการจัดงานวันดินโลก ปี 2565 (World Soil Day 2022) ในหัวข้อ
                   “Soils, where food begins : อาหารก่อกำเนิด เกิดจากดิน” ระหว่างวันที่ 4 - 7 ธันวาคม 2565

                   ณ สถานีพัฒนาที่ดินตาก จังหวัดตาก จำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของผู้เข้าร่วมงาน
                              2.2.2 ข้อมูลทุติยภูมิ รวบรวมจากการรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนวันดินโลก

                   ปี 2565 รายงานความก้าวหน้า รูปแบบการจัดงานวันดินโลก ปี 2565 กำหนดการจัดงาน และผลการประกวด
                   ของกิจกรรมต่าง ๆ ภายในงาน

                          2.3 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล

                              2.3.1 แบบสอบถาม (Questionnaires) ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลจากผู้เข้าร่วมงาน
                   ที่เข้าชมนิทรรศการภายในงาน แบบสอบถามนี้จัดทำขึ้นเป็นทั้งแบบคำถามปิด (Closed - end) ซึ่งเป็น
                   คำถามที่ตั้งคำตอบไว้พร้อมแล้ว เพื่อให้ผู้ตอบเลือกตอบเฉพาะข้อที่ตรงกับความต้องการ และแบบคำถามเปิด
                   (Opened - end) ซึ่งเป็นคำถามที่เปิดโอกาสให้ผู้ตอบสามารถตอบคำถามได้ตามความคิดเห็นของตนเอง
                   โดยเป็นแบบสอบถามในรูปแบบออนไลน์

                              2.3.2 วิธีการสังเกตการณ์ (Observation) เป็นวิธีเก็บข้อมูลโดยการสังเกตการณ์
                   จากเหตุการณ์ สถานการณ์ภายในงาน และจดบันทึกในประเด็นต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการ

                   ปรับปรุง/แก้ไข การดำเนินงานต่อไป
                              2.3.3 จุดเช็คอิน (Check in) เป็นวิธีการประเมินความพึงพอใจต่อนิทรรศการมีชีวิต
                   จำนวน 5 จุด ประกอบด้วย จุดที่ 1 เทคโนโลยีการผลิตองุ่นและเสาวรสปลอดภัย จุดที่ 2 แปลงผักบ้านนี้

                   มีรักปลูกผักกินเอง จุดที่ 3 ข้าวสรรพสีปลอดภัย ด้วยนวัตกรรมที่ดิน จุดที่ 4 นวัตกรรมจุลินทรีย์สู่การผลิต
                   อาหารปลอดภัย และจุดที่ 5 ฐานการปรุงดิน โดยใช้วิธี Scan QR - Code และให้คะแนนความพึงพอใจ 3 ระดับ
                   ผ่านสมาร์ทโฟน

                          2.4 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
                              2.4.1 ทฤษฎีการวิเคราะห์ผล เป็นการวิเคราะห์ผลจากแบบประเมินผล โดยใช้โปรแกรม

                   ทางคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ผลข้อมูลทางสถิติ ประกอบด้วยค่าตัวแปรต่างๆ ได้แก่ ร้อยละ
                   (Percentage) ค่าคะแนนเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

                                    1) การบรรยายลักษณะของข้อมูลด้านความพึงพอใจ ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม
                   แบบเลือกตอบตามความคิดเห็นในรูปแบบของมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) โดยแบ่งระดับ

                   ความคิดเห็นและระดับความพึงพอใจเป็น 5 ระดับ ตามเกณฑ์ของลิเคิร์ท (Likert Scale) ดังนี้

                                         ความพึงพอใจและความคิดเห็นมากที่สุด   มีค่าเท่ากับ   5  คะแนน
                                         ความพึงพอใจและความคิดเห็นมาก        มีค่าเท่ากับ   4  คะแนน
                                         ความพึงพอใจและความคิดเห็นปานกลาง  มีค่าเท่ากับ   3  คะแนน
                                         ความพึงพอใจและความคิดเห็นน้อย       มีค่าเท่ากับ   2  คะแนน

                                         ความพึงพอใจและความคิดเห็นน้อยที่สุด   มีค่าเท่ากับ   1  คะแนน
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23