Page 14 - การประเมินผลการจัดงานวันดินโลก ปี 2565 "Soils, Where food begins : อาหารก่อกำเนิดเกิดจากดิน"
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                          3





                                ประเด็นการประเมินผล                               ตัวชี้วัด
                        1.3) การมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรดิน  - ร้อยละของผู้เข้าร่วมงานที่อยากร่วมเป็นส่วน

                                                                   หนึ่งในการดูแลรักษาทรัพยากรดินให้ใช้
                                                                   ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
                     2) ความพึงพอใจ ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ

                        2.1) ความพึงพอใจ                         - ระดับความพึงพอใจของการจัดงาน
                        2.2) ความคิดเห็น                         - ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมชมงาน
                                                                 - ความชื่นชอบนิทรรศการ/กิจกรรมภายในงาน
                        2.3) ข้อเสนอแนะ                          - ข้อเสนอแนะของผู้เข้าร่วมงาน


                   6. นิยามศัพท์
                          การประเมินผลการจัดงาน หมายถึง กระบวนการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ

                   เพื่อสรุปผลวา การจัดงานในครั้งนั้นๆ ได้บรรลุวัตถุประสงคเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพเพียงใด
                   ในทางปฏิบัติการประเมินผลเป็นกระบวนการที่คู่ขนานกับการจัดงาน กล่าวคือ กอนการดําเนินงาน
                   อาจทำการศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสมของกระบวนการที่คาดวาจะนำมาใช้ในการดำเนินการจัดงาน

                   (Preliminary Evaluation) จากนั้น ในระหว่างการดําเนินงานก็จะประเมินผลเพื่อใหทราบถึงปญหา
                   อุปสรรคและแนวทางการแกไขปญหาที่เหมาะสม (Formative evaluation) เมื่อการดำเนินการงานสิ้นสุดลง
                   ก็จะทำการประเมินผลและสรุปผลการดำเนินการเพื่อนําเสนอสิ่งที่เกิดขึ้นและสิ่งที่ได้เรียนรูเพื่อประโยชน์
                   ในอนาคต (Summative Evaluation)

                          ประเมินผลความสำเร็จ หมายถึง กระบวนการประเมินผลการดําเนินงานของแต่ละกิจกรรม

                   และนําผลการประเมินมาวิเคราะห์ เพื่อหาคาระดับคะแนน แล้วเปรียบเทียบกับเกณฑความสำเร็จหรือเกณฑ
                   การบรรลุเป้าหมายวัตถุประสงคของแต่ละกิจกรรมที่ตั้งไว โดยการตั้งเกณฑความสำเร็จได้ตั้งใหสอดคลอง
                   ภายใตวัตถุประสงค์ของการประเมินผล หรือภายใต้ตัวชี้วัดที่กำหนด

                          วันดินโลก (World Soil Day) หมายถึง วันสำคัญที่นักปฐพีวิทยาทั่วโลก 60,000 คน จะเฉลิมฉลอง
                   เป็นประจำทุกปี ซึ่งนักปฐพีวิทยาของไทยทุกคนภาคภูมิใจ เนื่องจากวงการปฐพีวิทยานานาชาติ มีฉันทานุมัติ

                   เลือกวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพล
                   อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นวันดินโลก และนักปฐพีวิทยาของไทยมีส่วนร่วมในการเชิดชู
                   พระอัจฉริยภาพด้านการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรดินขององค์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพล
                   อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

                          ตัวแปร (Variables) หมายถึง คุณลักษณะของสิ่งที่ผู้ประเมินสนใจจะศึกษา ซึ่งมีค่าแปรเปลี่ยน

                   แตกต่างกันไปตามแต่ละหน่วยของสิ่งนั้นๆ โดยค่าการวัดที่ได้หรือลักษณะของสิ่งเหล่านั้นจะใช้เป็นข้อมูล
                   สำหรับการประเมิน

                          ตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรต้น (Independent Variable) หมายถึง คุณลักษณะหรือคุณสมบัติ
                   ที่เป็นเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์หรือลักษณะที่แปรผันของปรากฏการณ์ เป็นตัวแปรที่ผู้ประเมินกำหนดขึ้น
                   หรือจัดสภาพการณ์หรือเป็นตัวจัดกระทำเพื่อมุ่งศึกษาผลที่จะเกิดตามมา ตัวแปรประเภทนี้มีลักษณะเป็นตัวแปร

                   ไม่ต่อเนื่อง เช่น เพศ วุฒิการศึกษา เป็นต้น
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19