Page 20 - การประเมินผลการจัดงานวันดินโลก ปี 2565 "Soils, Where food begins : อาหารก่อกำเนิดเกิดจากดิน"
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                         9





                                    4) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายของ

                   ข้อมูลที่นิยมใช้กันมากเพื่อหาแนวโน้มสู่ส่วนกลาง ซึ่งต้องพิจารณาค่าการกระจายของข้อมูลคู่กับค่าเฉลี่ย
                   ของข้อมูล ถ้าข้อมูลแต่ละจำนวนมีค่าห่างกันมาก หมายความว่า มีการกระจายมาก แต่ถ้าข้อมูลแต่ละจำนวน
                   มีค่าห่างกันน้อย หมายความว่า มีการกระจายน้อย ดังนั้น ผู้ประเมินจะเขียนแทนด้วย S หรือ S.D. สำหรับ
                   การแทนค่าการกระจายของกลุ่มตัวอย่าง

                                    5) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance : ANOVA) ในการ

                   ทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยของประชากร 1 กลุ่ม และ 2 กลุ่ม ตัวสถิติทดสอบที่ใช้คือ Z หรือ T
                   โดยการเลือกใช้ตัวสถิติทดสอบใดขึ้นอยู่กับว่าทราบความแปรปรวนของข้อมูลในประชากรนั้นหรือไม่
                   ตัวอย่างมีขนาดใหญ่หรือเล็ก แต่ในกรณีที่ทำการศึกษาประชากรมากกว่า 2 กลุ่ม และต้องการทดสอบ
                   สมมติฐานว่า ค่าเฉลี่ยของประชากรแต่ละกลุ่มนั้นแตกต่างกันหรือไม่ จะต้องทดสอบสมมติฐานทีละคู่

                   ซึ่งการทดสอบดังกล่าวจะทำให้เสียเวลาในการทดสอบสมมติฐานที่ซ้ำซ้อนเป็นอย่างมาก และประการ
                   สำคัญคือ เป็นการทำค่าระดับนัยสำคัญมีค่ามากเกินไป ดังนั้น จึงมีการนำเทคนิคการวิเคราะห์
                   ความแปรปรวน (Analysis of Variance : ANOVA) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ในการทดสอบ

                   สมมติฐานเกี่ยวกับความแตกต่างของค่าเฉลี่ย กรณีประชากรมากกว่า 2 กลุ่ม (k กลุ่ม) โดยทำการทดสอบ
                   เพียงครั้งเดียว
                                       การวิเคราะห์ความแปรปรวนมีด้วยกันหลายประเภท สำหรับการประเมินครั้งนี้
                   ผู้ประเมินใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง
                   ของค่าเฉลี่ยมากกว่า 2 กลุ่มประชากร


                                    6) การทดสอบไคสแควร์ (Chi - Square Test) เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล
                   ที่ใช้กับข้อมูลเชิงคุณภาพ หรือข้อมูลเชิงปริมาณที่แบ่งเป็นช่วง และข้อมูลไม่จำเป็นต้องมีการแจกแจง
                   แบบปกติ ตัวเลขที่นำมาวิเคราะห์ในการทดสอบไคสแควร์เป็นความถี่ของแต่ละระดับของตัวแปร
                   ที่ต้องการศึกษา โดยข้อมูลที่อยู่ในรูปของความถี่ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ ข้อมูลจำแนกทางเดียว

                   (One - Dimensional Classifical Data) หรือตารางแจกแจงความถี่แบบทางเดียว (One - Way
                   Frequency Table) เป็นข้อมูลที่จำแนกตามลักษณะใดลักษณะหนึ่งเท่านั้น และข้อมูลจำแนกสองทาง
                   (Two - Way Contingency Table) หรือตารางแจกแจงความถี่จำแนก 2 ทาง (One - Way Frequency
                   Table) หรือตารางการณ์จร (Contingency table) หรือตารางไขว้ (Cross tabulation table) โดยการทดสอบ

                   ไคสแควร์มีจุดประสงค์เพื่อการทดสอบตามลักษณะของข้อมูลจำแนกทางเดียว และข้อมูลจำแนกสองทาง

                                       ซึ่งการประเมินในครั้งนี้ ผู้ประเมินเลือกการทดสอบไคสแควร์กับข้อมูลจำแนก
                   สองทาง เรียกว่า การทดสอบความเป็นอิสระ (testing of independence) โดยได้กำหนดตัวแปรต้น
                   ได้แก่ อายุ สถานภาพ และระดับการศึกษา ส่วนตัวแปรตาม ได้แก่ ความคิดเห็นหลังเข้าร่วมงานวันดินโลก
                   ความชื่นชอบนิทรรศการ/กิจกรรม การนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมชมงานไปใช้ประโยชน์ และ

                   ความพึงพอใจต่อการจัดงานวันดินโลก เพื่อทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความเป็นอิสระของตัวแปรสองตัว
                   หรือความสัมพันธ์ของตัวแปรสองตัวว่าเกี่ยวข้องกันหรือไม่ ตามกรอบแนวคิด ดังนี้
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25