Page 10 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพัทลุง
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               5






                       2.1  ยางพารา

                           ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดพัทลุง เนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์ทาง
                     ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และมีสภาพภูมิประเทศที่เหมาะสมในการปลูกยางพารา อีกทั้งเกษตรกร
                     ในจังหวัดพัทลุงส่วนใหญ่ได้รับความรู้ในการพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตและการแปรรูปยางพารา

                     อย่างต่อเนื่อง และส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายเดิมที่มีการปลูกยางพารามาอย่างยาวนาน จากฐานข้อมูล
                     ในแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online วิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 3 และภาพที่ 6 - 7)

                           1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกยางพารา
                             ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 321,346 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 21.44
                     ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอำเภอป่าพะยอม 58,272 ไร่ อำเภอกงหรา 41,609 ไร่ และ

                     อำเภอศรีนครินทร์ 39,774 ไร่ เป็นต้น
                             ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 393,148 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 26.23
                     ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอำเภอป่าบอน 137,137 ไร่ อำเภอปากพะยูน 45,802 ไร่ และ
                     อำเภอเมืองพัทลุง 37,057 ไร่ เป็นต้น

                             ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 315,766 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 21.07
                     ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอำเภอควนขนุน 69,722 ไร่ อำเภอเขาชัยสน 57,964 ไร่ อำเภอ
                     เมืองพัทลุง 33,067 ไร่ เป็นต้น
                             ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 468,146 ไร่

                           2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกยางพาราในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน

                     ได้ดังนี้
                             (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 226,470 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 26.10 ของพื้นที่เพาะปลูก
                     ในชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ กระจายอยู่ในอำเภอป่าพะยอม 46,103 ไร่ อำเภอตะโหมด 27,784 ไร่

                     อำเภอกงหรา 26,508 ไร่ เป็นต้น
                             (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 305,183 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 35.20 ของพื้นที่
                     เพาะปลูกในชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ กระจายอยู่ในอำเภอป่าบอน 116,158 ไร่ อำเภอปากพะยูน
                     36,763 ไร่ อำเภอเขาชัยสน 25,684 ไร่ เป็นต้น
                             (3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 302,540 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 34.87 ของพื้นที่

                     เพาะปลูกในชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ กระจายอยู่ในอำเภอควนขนุน 65,472 ไร่ อำเภอเขาชัยสน 57,180 ไร่
                     อำเภอเมืองพัทลุง 32,869 ไร่ เป็นต้น
                             (4)  พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 33,294 ไร่

                           3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกยางพาราแต่ยังไม่มีการปลูก
                     พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับปลูกยางพารา และพื้นที่เพาะปลูกยางพาราในชั้นความเหมาะสม

                     ต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่า จังหวัดพัทลุงมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับความเหมาะสมสูง (S1) และ
                     ความเหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 182,841 ไร่ กระจายอยู่ในอำเภอต่าง ๆ โดยอำเภอที่มีพื้นที่
                     ศักยภาพคงเหลือมากที่สุด ได้แก่ อำเภอป่าบอน 27,082 ไร่ รองลงมาได้แก่ อำเภอเมืองพัทลุง 27,067 ไร่

                     อำเภอควนขนุน 22,518 ไร่ และอำเภอกงหรา 18,706 ไร่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15