Page 14 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพัทลุง
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               9






                           4) แนวทางการจัดการ

                             (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
                     ปลูกยางพาราต่อไป เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มี

                     คุณภาพดี ซึ่งการปลูกยางพาราในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้น สามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญต่าง ๆ ได้
                     เช่น ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น

                               พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกยางพาราในที่ดิน
                     ที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกยางพารา ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกยางพาราที่สำคัญ

                     ของจังหวัด ได้แก่ พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูงในพื้นที่อำเภอกงหรา อำเภอ
                     ป่าพะยอม และอำเภอตะโหมด
                               พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูกยางพารา

                     ในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกยางพารา เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                     ความเป็นกรดเป็นด่าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนให้มีเพิ่มผลผลิตยางพารา โดยเน้นการจัดการ
                     ที่เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับพื้นที่เหมาะสมสูง โดย เฉพาะการปรับปรุงบำรุงดิน พัฒนาการ

                     ตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลางให้มากขึ้น
                     ในพื้นที่อำเภอป่าบอน อำเภอปากพะยูน และอำเภอเขาชัยสน
                             (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้เข้า
                     โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น ทำการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ทั้งนี้

                     ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                       2.2  ข้าว
                           ข้าว เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของพัทลุงในลำดับที่ 2 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ
                     Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 5 และภาพที่ 8 - 9)

                           1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูก

                             ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 468,092 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 31.21
                     ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอำเภอควนขนุน 122,340 ไร่ อำเภอเมืองพัทลุง 111,786 ไร่
                     และอำเภอเขาชัยสน 74,971 ไร่เป็นต้น
                             ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 131,274 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.75
                     ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอำเภอเมืองพัทลุง 35,423 ไร่ อำเภอบางแก้ว 26,180 ไร่ และ

                     อำเภอป่าบอน 22,559 ไร่ เป็นต้น
                             ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) เนื้อที่ 105,668 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.04
                     ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอำเภอปากพะยูน 6,474 ไร่ อำเภอเมืองพัทลุง 3,695 ไร่
                     อำเภอป่าบอน 2,823 ไร่ เป็นต้น
                             ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 794,969 ไร่
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19