Page 6 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพัทลุง
P. 6

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                               1





                     1. ข้อมูลทั่วไป

                       จังหวัดพัทลุงมีพื้นที่ 3,424.473 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,140,296 ไร่ ตั้งอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย
                     ประกอบด้วย 11 อำเภอ 65 ตำบล (ตารางผนวกที่ 1) มีจำนวนประชากร 523,077 คน (กรมการปกครอง, 2563)

                       1.1  อาณาเขตติดต่อ
                            ทิศเหนือ      ติดต่อ จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา
                            ทิศใต้       ติดต่อ จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล
                            ทิศตะวันออก   ติดต่อ จังหวัดสงขลา และจังหวัดนครศรีธรรมราช

                            ทิศตะวันตก    ติดต่อ จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล
                       1.2  ภูมิประเทศ
                           สภาพภูมิประเทศของจังหวัดพัทลุงเป็นภูเขาและที่ราบสูงทางด้านตะวันตกอันประกอบด้วย
                     เทือกเขาบรรทัด มีระดับสูงจากทะเลปานกลาง 50 - 1,000 เมตร ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ สวนยางพารา

                     สวนไม้ผล และไม้ยืนต้น ถัดลงมาทางด้านตะวันออกเป็นที่ราบสลับที่ดอน มีความสูงจากระดับทะเลปานกลาง
                     เฉลี่ย 0 - 15 เมตร บริเวณนี้ส่วนใหญ่ปลูกยางพารา ข้าว มังคุด ปาล์มน้ำมัน พืชผัก และพืชไร่ชนิดต่าง ๆ
                     โดยมีอัตราความลาดชัน 1 : 1,000 จากทิศตะวันตกมาสู่ทิศตะวันออกของจังหวัด
                       1.3  ภูมิอากาศ

                           สภาพภูมิอากาศของจังหวัดพัทลุงมี 2 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อนและฤดูฝนได้รับอิทธิพลจากมรสุม
                     ตะวันออกเฉียงเหนือและมรสุมตะวันตกเฉียงใตปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,853 มิลลิเมตรต่อปี จังหวัดพัทลุง
                     อยู่ใกล้ทะเล ฤดูร้อนมีอากาศไม่ร้อนมากนัก ส่วนฤดูหนาวไม่ถึงกับหนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี

                     ประมาณ 27 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31 - 32 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23 - 24
                     องศาเซลเซียส
                        1.4  ทรัพยากรดิน
                           ทรัพยากรดินของจังหวัดพัทลุงแบ่งตามภูมิสัณฐาน ลักษณะทางธรณีวิทยา และวัตถุต้นกำเนิดดิน
                     ได้ดังนี้

                             1) หาดและเนินทราย (Beach and sand dune) พื้นที่หาดทรายเป็นพื้นที่ระหว่าง
                     แนวน้ำทะเลขึ้นและน้ำทะเลลง มีลักษณะเป็นแนวยาวขนานกับชายฝั่งทะเลที่เกิดขึ้นจากการกระทำ
                     ของคลื่นและกระแสน้ำทะเล ส่วนพื้นที่เนินทรายหรือสันทรายเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะนูนเป็นโคกเตี้ย ๆ

                     และเป็นแนวยาวขนานกับชายฝั่งทะเล มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย การระบายน้ำ
                     ค่อนข้างมาก มีเนื้อดินเป็นดินทรายและมักมีเปลือกหอยปะปนอยู่ในดิน สีน้ำตาล น้ำตาลปนเหลือง หรือ
                     เหลืองปนแดง อาทิ ชุดดินบาเจาะ (Bc)
                             2) ที่ราบชายฝั่งทะเล (Coastal plain) เกิดจากคลื่นพัดพาและกระแสลมพัดพาเอาเศษวัตถุ

                     จากทะเล ทั้งโคลน กรวด ทราย และตะกอนต่าง ๆ เข้ามาทับถมบริเวณชายฝั่ง และลึกเข้าไปในแผ่นดิน
                     มากกว่าหาดทราย แบ่งเป็น
                                (1) พื้นที่น้ำทะเลขึ้นถึงในปัจจุบัน (Active tidal flats) เป็นพื้นที่ที่มีน้ำทะเลขึ้นถึง
                     ดินมีสีคล้ำ อินทรียวัตถุสูง และเป็นดินเค็ม (saline soil) ดินส่วนใหญ่มีศักยภาพที่ก่อให้เกิดเป็นดินกรด

                     กำมะถันหรือเป็นดินเปรี้ยวจัด มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ การระบายน้ำเลวมาก เนื้อดินเป็นดินทรายแป้ง
                     ละเอียดหรือเนื้อดินละเอียด อาทิ ชุดดินตะกั่วทุ่ง (Tkt)
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11