Page 7 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพัทลุง
P. 7

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               2






                                (2) พื้นที่ที่น้ำทะเลเคยท่วมถึง (Former tidal flats) เป็นพื้นที่ที่น้ำทะเลเคยท่วมถึง

                     ในอดีต เป็นช่วงต่อระหว่างตะกอนทะเลกับตะกอนน้ำจืด มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ หรือเป็นแอ่งต่ำ
                     มีน้ำขังตลอดปี การระบายน้ำเลวมาก มีเนื้อดินเป็นดินทรายแป้งละเอียดหรือดินเหนียวที่มีการพัฒนา
                     ชั้นดินไม่มากนัก สีเทาอ่อน มีจุดประสีน้ำตาลแก่ น้ำตาลปนเหลือง และน้ำตาลปนเขียวมะกอก เช่น ชุดดิน

                     มูโน๊ะ (Mu) ชุดดินตากใบ (Ta) เป็นต้น
                             3) ที่ราบน้ำท่วมถึง (Flood plain) ที่ราบริมแม่น้ำหรือลำธาร หน้าฝนหรือหน้าน้ำ มักมีน้ำท่วม
                     เป็นครั้งคราว เป็นสภาพพื้นที่ที่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพา และมีตะกอนเพิ่มมากขึ้นหลังน้ำท่วม
                     พบส่วนของสันดินริมน้ำ (Levee) เป็นที่ดอน เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ
                     เป็นสันนูนขนานไปกับริมฝั่งแม่น้ำ การระบายน้ำค่อนข้างดีถึงดี เนื้อดินค่อนข้างหยาบ อาทิ ชุดดินตาขุน (Tkn)

                             4) ที่ราบตะกอนน้ำพา (Alluvial plain) เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของแม่น้ำหรือลำน้ำสาขา
                     วัตถุต้นกำเนิดดินเป็นตะกอนน้ำพา (Alluvium) มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบขนาดใหญ่สองฝั่งแม่น้ำ แต่ละฝั่ง
                     อาจมีที่ราบแบบขั้นบันไดหรือตะพักได้หลายระดับ แบ่งเป็น

                                (1) ตะพักลำน้ำระดับต่ำ (Low terrace) เป็นที่ลุ่ม มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ ดินลึกมาก เนื้อ
                     ดินอาจเป็นดินเหนียวละเอียดถึงดินทรายแป้งละเอียด สีเทา น้ำตาลปนเทา และน้ำตาล มีจุดประสีต่าง ๆ การ
                     ระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว เช่น ชุดดินบางนารา (Ba) ชุดดินพัทลุง (Ptl) ชุดดินโคกเคียน (Ko) เป็นต้น
                                (2) ตะพักลำน้ำระดับกลางและระดับสูง (Middle and High Terrace) เป็นที่ดอน

                     มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด ดินตื้นถึงชั้นกรวดลูกรังถึงดินลึกมาก เนื้อดิน
                     เป็นดินร่วนหยาบ ดินร่วนละเอียดหรือดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ำตาล เหลือง น้ำตาลปนแดงถึงแดง
                     การระบายน้ำดีปานกลางถึงดี เช่น ชุดดินลำภูรา (Ll) ชุดดินนาทวี (Nat) เป็นต้น
                             5) ที่ลาดเชิงเขา (Piedmont) เขา (Hill) ภูเขา (Mountain) มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่น

                     ลอนลาดถึงเนินเขา ที่เกิดจากการที่หินผุพังสลายตัวอยู่กับที่หรือถูกเคลื่อนย้ายโดยแรงโน้มถ่วงของโลก
                     ในระยะทางใกล้ ๆ และถูกควบคุมด้วยลักษณะของโครงสร้างทางธรณีวิทยา ส่วนใหญ่พบหินปะปน
                     ในหน้าตัดดินและลอยหน้า แบ่งตามลักษณะและชนิดของหินดังนี้
                                (1) พัฒนาจากกลุ่มหินตะกอนหรือหินแปรเนื้อละเอียดหรือหินในกลุ่ม ส่วนใหญ่

                     เป็นหินดินดานและหินฟิลไลต์ ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกปานกลาง เนื้อดินเป็นดินเหนียว
                     ละเอียดถึงดินเหนียวปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ำตาล น้ำตาลปนแดง และน้ำตาลปนเหลือง การระบายน้ำดี
                     พบเศษหินปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน เช่น ชุดดินนาทอน (Ntn) ชุดดินเขาขาด (Kkt) ชุดดิน

                     คลองเต็ง (Klt) เป็นต้น
                                (2) พัฒนาจากหินอัคนีชนิดหินแกรนิต ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกมาก
                     เนื้อดินเป็นดินร่วนหยาบถึงดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ำตาล น้ำตาลปนแดง ถึงแดง การระบายน้ำดี
                     อาทิ ชุดดินคลองนกกระทุง (Knk)
                             6) พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ทรัพยากรดินมีความแตกต่าง

                     กันออกไปในแต่ละพื้นที่
                             ซึ่งได้แสดงรายละเอียดของชุดดินที่พบมากของจังหวัดพัทลุง ในภาพที่ 1 - 5
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12