Page 32 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดกระบี่
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               27







                       ใช้เทคโนโลยีเกษตรที่มีความแม่นยำทั้งแปลงผลิตพืช เพื่อให้ได้ผลผลิตตรงตามความต้องการ
                       ควบคุมคุณภาพผลผลิตมะพร้าวให้คงที่ และสามารถวางแผนระบบการตลาดดีขึ้น
                             2) พื้นที่ปลูกมะพร้าวที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกมะพร้าวอยู่

                       มีเนื้อที่ 2,339 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอเกาะลันตา และอำเภอเหนือคลอง ควรพัฒนา
                       ประสิทธิภาพการผลิต ในรูปแบบแปลงใหญ่ สนับสนุนการปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อพัฒนาศักยภาพของที่ดิน

                       ให้มีความเหมาะสมต่อการปลูกมะพร้าวมากยิ่งขึ้น สนับสนุนมะพร้าวพันธุ์ดีที่ทนต่อโรคแมลง
                       ให้ความรู้ในการกำจัดโรคแมลงศัตรูมะพร้าวที่เหมาะสม สนับสนุนการจัดตั้งแหล่งรับซื้อผลผลิต

                       มะพร้าวในพื้นที่ และเชื่อมโยงการตลาด โดยมีตลาดรับซื้อผลผลิตมะพร้าวสำรอง ที่สามารถรองรับ
                       ผลผลิตทางการเกษตรในช่วงที่ผลผลิตล้นตลาด หรือเกินกำลังผลิตของโรงงานแปรรูปในพื้นที่ใกล้เคียง

                       พัฒนาสถาบันเกษตรกรให้เข้มแข็ง และเป็น Smart Farmer โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมา
                       ประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเป็นฟาร์มหรือแปลงเกษตรอัจฉริยะ
                             3) พื้นที่ปลูกมะพร้าวในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร

                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกมะพร้าวอยู่ มีเนื้อที่ 1,037 ไร่ ควรมีการให้ความรู้เกษตรกรในการปรับเปลี่ยนชนิด
                       พืชให้เหมาะสมตรงตามศักยภาพของพื้นที่ โดยสนับสนุนให้เข้าร่วมโครงการ ต่าง ๆ อาทิ Zoning by

                       Agri-Map พร้อมทั้งจัดระบบการผลิตและการบริหารจัดการดิน น้ำ ปุ๋ย ที่เหมาะสมสำหรับมะพร้าว
                       การสนับสนุนแหล่งน้ำ และการส่งเสริมให้ความรู้ในการปรับปรุงบำรุงดิน และการทำเกษตร

                       ผสมผสาน
                             4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกมะพร้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกร

                       ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกมะพร้าว พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีการปลูกพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา
                       ข้าว เงาะ ทุเรียน กาแฟโรบัสต้า เป็นต้น ในกรณีที่ปลูกไม้ยืนต้นชนิดอื่น หรือมีการปลูกไม้ผลชนิดอื่น
                       การปรับเปลี่ยนพื้นที่ดังกล่าวมาปลูกมะพร้าวเป็นเรื่องยาก เนื่องจากมะพร้าวเป็นพืชที่ใช้เวลานานกว่าจะ

                       ให้ผลผลิตที่คุ้มทุน แต่หากพื้นที่ดังกล่าวมีการปลูกข้าว สามารถปลูกมะพร้าวในลักษณะระบบปลูกพืช
                       แซมไปบนคันนา หรือปลูกในลักษณะเกษตรผสมผสานได้

                         4.4  ข้าว

                             1) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่ 179 ไร่
                       ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอปลายพระยา ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอ

                       แผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ำ
                       ชลประทาน การจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์ข้าว มีการรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดครบวงจร

                       ด้านการตลาดในและต่างประเทศการแปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการทำมาตรฐานสินค้าเกษตร
                       อินทรีย์ และ GAP และเนื่องจากเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง การปลูกพืชหลังนาจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้

                       เพิ่มขึ้น และเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน ทั้งนี้ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่า
                       พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวจึงไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หากข้าวราคา
                       ไม่ดีถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเป็นพืชไร่ เพื่อที่ในอนาคตจะกลับมาทำนาได้อีก
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37