Page 28 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดกระบี่
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               23







                                 (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุน
                       ให้เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น ทำการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทน
                       สูงกว่า โดยพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย


                       3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด

                              3.1 กาแฟสายพันธุ์โรบัสต้า กาแฟเมืองกระบี่ หรือ กาแฟคลองท่อม ได้รับการขึ้นทะเบียน
                       เป็นพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (พืช GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่นิยมปลูกในพื้นที่ราบหรือที่ราบ

                       เชิงเขาที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่มากนัก ซึ่งมีความพิเศษ คือ กาเฟเมือง
                       กระบี่ มีรสชาติที่เข้มข้นของสายพันธุ์โรบัสต้า ประกอบกับตำแหน่ง และสภาพภูมิอากาศในพื้นที่เขต
                       จังหวัดกระบี่ เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุภูเขาไฟในดินสูง ทำให้รสชาติกาแฟเมืองกระบี่
                       พันธุ์โรบัสต้า มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงถูกจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญประจำท้องถิ่นที่มี
                       อนาคตไกลของจังหวัดกระบี่ เมื่อพิจารณาจากพื้นที่ในการส่งเสริมการปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้า

                       ควรส่งเสริมเฉพาะในพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) และพื้นที่ศักยภาพความเหมาะสมปานกลาง (S2)
                       ซึ่งจังหวัดกระบี่ยังมีพื้นที่ปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้าเหมาะสมสูง S1 (คงเหลือ) จำนวน 58,061 ไร่
                       ส่วนมากกระจายอยู่ในอำเภอเขาพนม (37,902 ไร่) อำเภอเหนือคลอง (10,504 ไร่) และอำเภอ

                       คลองท่อม (2,324 ไร่) เป็นต้น และพื้นที่ปลูกกาแฟโรบัสต้าเหมาะสมปานกลาง S2 (คงเหลือ) จำนวน
                       1,420,423 ไร่ ส่วนมากกระจายอยู่ในอำเภอคลองท่อม (305,697 ไร่) อำเภอเขาพนม (297,781 ไร่)
                       อำเภออ่าวลึก (214,409 ไร่) และอำเภอปลายพระยา (196,013 ไร่) เป็นต้น
                                3.2 พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-

                       Green Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็น
                       เรื่องหนึ่งที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสาระสำคัญที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น
                       การแพทย์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืชทางเลือก
                       ในปี 2564 โดยดำเนินการภายใต้ตลาดนำการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพรขยายตัว

                       เพิ่มมากขึ้นจะช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร มีรายได้และความมั่นคงในการดํารงชีพ
                       จากฐานข้อมูล Agri-Map Online จังหวัดกระบี่มีพื้นที่ศักยภาพที่สามารถส่งเสริมให้ปลูกพืช
                       สมุนไพรได้หลายชนิด เช่น ขมิ้นชัน กระชายดำ ไพล บัวบก เป็นต้น
                                   ขมิ้นชัน เป็นพืชปลูกง่าย ชอบแสงแดดจัด และมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการ

                       ระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง เกษตรกรสามารถปลูกขมิ้นชันแซมในสวน เป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์
                       และมีรายได้ระหว่างรอการเติบโตของไม้ผลไม้ยืนต้น โดยพื้นที่จังหวัดกระบี่มีพื้นที่ศักยภาพในการ
                       ปลูกขมิ้นชันที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 453,100 ไร่

                                   กระชายดำ เป็นพืชที่ชอบที่ร่ม ดินร่วนซุยหรือเป็นดินปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี
                       ชอบอากาศหนาวเย็น และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแบ่งเหง้า สามารถขยายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี แต่ถ้า
                       ต้องการให้หัวหรือเหง้ามีคุณภาพต้องปลูกและเก็บเกี่ยวตามฤดูกาล คือปลูกในช่วงเดือนเมษายนถึง
                       เดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม โดยพื้นที่จังหวัดกระบี่มีพื้นที่
                       ศักยภาพในการปลูกกระชายดำที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 431,071 ไร่
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33