Page 31 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดกระบี่
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               26







                       การปรับปรุงบำรุงดิน เน้นการพัฒนาการตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์
                       ในพื้นที่ที่มีศักยภาพปานกลาง ให้มากขึ้น ส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และปลูก
                       ยางพาราทดแทนในพื้นที่เดิมเช่นกันกับพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง รวมไปถึงพัฒนาตลาดและช่องทางจัด

                       จำหน่ายให้มากขึ้น โดยเน้นการแปรรูปยาง หรือไม้ยางพาราเพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจเน้นจากชุมชนที่
                       เข้มแข็งเป็นพื้นที่ต้นแบบ

                             3) พื้นที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร
                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกยางพาราอยู่ มีเนื้อที่ 102,199 ไร่ ควรส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่

                       25 ปี และหาพืชอื่นทดแทน เช่น ส่งเสริมให้ปลูกไม้ผล มะพร้าว ไผ่หวาน มันสำปะหลัง ยาสูบ แตงโม
                       พืชไร่ และพืชผักต่าง ๆ ทดแทน ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า

                       หรือใช้พื้นที่ผลิตพืชผัก บริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning
                       by Agri-Map) เป็นต้น รวมไปถึงจัดหาตลาดให้กับเกษตรกรในการปลูกพืชผักทดแทน โดยอาจเริ่ม
                       จากตลาดชุมชน

                             4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกยางพารา แต่ปัจจุบันเกษตรกร
                       ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกยางพารา พบว่าเกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ไม้ผล ไม้ยืนต้น

                       อื่น ๆ เป็นต้น ควรเน้นให้เกษตรกรปลูกพืชดังกล่าวต่อไป เนื่องจากปัจจุบันตามมาตรการยุทธศาสตร์
                       ยางพารา เน้นการลดพื้นที่การปลูกยางพาราอยู่แล้ว ฉะนั้นควรสร้างความตระหนักให้เกษตรกร เน้นการ

                       ทำการเกษตรแบบผสมผสาน หรือการเข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ หรือ วนเกษตร เพื่อทำให้
                       เกษตรกรสามารถใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่ามากที่สุดต่อไป

                         4.3  มะพร้าว

                             1) พื้นที่ปลูกมะพร้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกมะพร้าวอยู่ มีเนื้อที่
                       88 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอเมืองกระบี่ ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควร

                       ให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดิน โดยส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกมะพร้าวพันธุ์ดีในพื้นที่เหมาะสมสูงต่อการ
                       ปลูกมะพร้าว โดยสร้างทางเลือกในการพัฒนาการผลิตมะพร้าวตามความต้องการของแหล่งผลิตโดย
                       อาจคัดเลือกพันธุ์ดีในท้องถิ่น มีการปลูกมะพร้าวทดแทนในพื้นที่สวนที่อายุมาก เพื่อสงวนให้เป็น

                       แหล่งผลิตมะพร้าวสำคัญของจังหวัด ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ในการบริหารจัดการระบบการผลิต
                       มะพร้าว ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมะพร้าวให้มีผลผลิตต่อพื้นที่สูง มีปริมาณเพียงพอต่อ

                       ความต้องการของผู้บริโภค โดยต้องรักษาระดับผลผลิตต่อไร่ไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ มีการ
                       ส่งเสริมให้ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพสินค้า หรือเพิ่มมูลค่าสินค้า และมีการจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์มะพร้าว

                       ที่ทนต่อโรคแมลง โดยรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดการตลาดในประเทศและ
                       ต่างประเทศแบบครบวงจร มีการสนับสนุนแหล่งเงินทุนในการแปรรูป และการทำมาตรฐานสินค้า

                       เกษตร GAP จากหน่วยงานภาครัฐ นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเป็นฟาร์ม
                       หรือแปลงเกษตรอัจฉริยะ โดยสร้างหรือนำนวัตกรรมและวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ในการเกษตร
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36