Page 30 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดกระบี่
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               25







                       ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่าไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หรือถ้าต้องการเปลี่ยน
                       ชนิดพืชควรเป็นพืชที่มีผลตอบแทนดีกว่า
                             3) พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคง

                       ใช้ที่ดินปลูกปาล์มน้ำมันอยู่ มีเนื้อที่ 186,229 ไร่ การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้
                       โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบำรุงดินสนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืช

                       ชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม และปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้นอายุประมาณ 20 - 25 ปี การปรับ
                       เปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นจึงเป็นเรื่องยากในกรณีที่ปาล์มน้ำมันหมดอายุ ลงทุนน้อยกว่าและให้

                       ผลตอบแทนที่ดี ส่งเสริมสินค้าเกษตรชนิดอื่น ๆ ที่สามารถปลูก เลี้ยง หรืออยู่ร่วมกันได้ในสวนปาล์มน้ำมัน
                       ตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้เกษตรกรสามารถเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม

                       (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น
                             4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน แต่ปัจจุบัน
                       เกษตรกรไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยหันมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น ยางพารา ข้าว

                       มะพร้าว เงาะ ทุเรียน กาแฟโรบัสต้า เป็นต้น ทั้งนี้หากพืชที่ปลูกเป็น ข้าวหรือพืชไร่ ในอนาคต
                       สามารถกลับมาปลูกปาล์มน้ำมันได้อีก แต่หากเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้น การกลับมาปลูกปาล์มน้ำมัน

                       อาจเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะการปลูกไม้ผล อาทิ ทุเรียน ที่ปัจจุบันราคาดี แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาต้นทุน
                       การผลิตและราคาผลผลิตร่วมด้วย

                         4.2  ยางพารา

                             1) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่
                       มีเนื้อที่ 300,668 ไร่ มีพื้นที่ปลูกอยู่ในเขตอำเภอเกาะลันตา อำเภอเขาพนม อำเภอคลองท่อม อำเภอ

                       ปลายพระยา อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอลำทับ อำเภอเหนือคลอง และอำเภออ่าวลึก ตามมาตรการ
                       ยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) เน้นให้มีการเพิ่มผลผลิตยางพาราต่อไร่ต่อปี

                       จากปกติเฉลี่ยอยู่ที่ 224 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 360 กิโลกรัมต่อไร่ ภายในปี 2579 นั้น ควรมีการจัดการ
                       ที่เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ เช่น การคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และต้านทานโรค
                       การปรับปรุงบำรุงดิน การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ การปลูกพืชแซมและพืชคลุมดินให้

                       เหมาะสมเพราะมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง การบำรุงรักษา การใส่ปุ๋ยการตัดแต่งกิ่ง และ
                       เทคนิคการกรีดยางให้มีปริมาณน้ำยางสูงมีคุณภาพและตรงตามมาตรฐาน เน้นการพัฒนาการตลาดในพื้นที่

                       เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง และส่งเสริมให้เกษตรกร
                       ชาวสวนยางในพื้นที่มีความเข้มแข็ง มีการบริหารงานแบบมืออาชีพและสามารถถ่ายทอดกิจการให้กับ

                       คนรุ่นใหม่
                             2) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่

                       มีเนื้อที่ 317,893 ไร่ อยู่ในเขตอำเภอเกาะลันตา อำเภอเขาพนม อำเภอคลองท่อม อำเภอปลายพระยา
                       อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอลำทับ อำเภอเหนือคลอง และอำเภออ่าวลึก ควรสนับสนุนให้มีเพิ่มผลผลิต
                       ยางพารา โดยเน้นการจัดการที่เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับพื้นที่ศักยภาพสูง โดยเฉพาะ
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35