Page 23 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสุราษฎร์ธานี
P. 23
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
16
สมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง และแหล่งน้ำ กระจายอยู่ในอำเภอพระแสง อำเภอท่าชนะ
และอำเภอชัยบุรี เป็นต้น
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) กระจายอยู่ใน
อำเภอพุนพิน อำเภอกาญจนดิษฐ์ และอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ควรสนับสนุนให้เข้าโครงการบริหาร
จัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น ทำการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า โดยพิจารณา
แหล่งรับซื้อร่วมด้วย
2.3 มะพร้าว
มะพร้าวพืชเศรษฐกิจหลักของสุราษฎร์ธานีในลำดับที่ 3 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตร
เชิงรุก หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 7 และภาพที่ 10 - 11)
1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกมะพร้าว
ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 360,385 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.88
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอพระแสง 48,439 ไร่ อำเภอไชยา 44,624 ไร่
และอำเภอกาญจนดิษฐ์ 38,029 ไร่
ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 2,697,136 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
51.50 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอกาญจนดิษฐ์ 307,136 ไร่ อำเภอพระแสง
277,761 ไร่ และอำเภอพุนพิน 273,864 ไร่
ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 724,811 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 13.84
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอเคียนซา 109,751 ไร่ อำเภอพุนพิน 101,946 ไร่
และอำเภอท่าฉาง 73,205 ไร่
ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 1,454,543 ไร่
2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกมะพร้าวในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสม
ของที่ดิน ได้ดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 1,212 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของพื้นที่เหมาะสมสูง
กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอดอนสัก 601 ไร่ อำเภอท่าชนะ 265 ไร่ และอำเภอไชยา 91 ไร่
(2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 49,137 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 36.54 ของพื้นที่
เหมาะสมปานกลาง กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอเกาะสมุย 28,712 ไร่ อำเภอเกาะพะงัน 10,959 ไร่
และอำเภอท่าชนะ 3,843 ไร่
(3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 13,016 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.68 ของพื้นที่
เหมาะสมเล็กน้อย กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอเกาะสมุย 8,772 ไร่ อำเภอเกาะพะงัน 2,588 ไร่
และอำเภอไชยา 856 ไร่
(4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 71,120 ไร่
3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกมะพร้าวแต่ไม่ใช้พื้นที่ปลูก
พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับการปลูกมะพร้าว และพื้นที่ปลูกมะพร้าวใน
ชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่า จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับ
ความเหมาะสมสูง (S1) และความเหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 3,007,172 ไร่ กระจายอยู่ทั่ว
ทุกอำเภอ โดยอำเภอที่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือมากที่สุด ได้แก่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ 343,858 ไร่