Page 15 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดยะลา
P. 15
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
8
ทั้งนี้ ในการส่งเสริมการปลูกพืชจะพิจารณาเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพคงเหลือในระดับ
ความเหมาะสมสูง (S1) และระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) เท่านั้น เนื่องจากสภาพพื้นที่ปลูก
พืชตรงตามศักยภาพของดิน การลงทุนต่ าก็สามารถเพิ่มผลผลิตได้ จึงควรส่งเสริมในพื้นที่ดังกล่าว
เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลศักยภาพพื้นที่ร่วมกับพื้นที่ปลูกพืชในปัจจุบัน พบว่า พื้นที่ที่ควร
พิจารณาให้มีการปรับเปลี่ยนไปปลูกยางพารา คือ บริเวณที่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว (S3+N) 26,432 ไร่
พื้นที่ปลูกมะพร้าว (S3) 10 ไร่ (ตารางที่ 4)
ตารางที่ 4 พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตยางพารา
ข้าว (ไร่) มะพร้าว (ไร่)
อ าเภอ
S3 N รวม S3 N รวม
กาบัง 272 6 278 1 - 1
กรงปินัง 1,374 - 1,374 - - -
ธารโต - - - - - -
บันนังสตา 469 2 471 - - -
เบตง 2 - 2 - - -
เมืองยะลา 4,902 7 4,909 2 - 2
ยะหา 3,050 178 3,228 3 - 3
รามัน 15,591 579 16,170 4 - 4
รวม 25,660 772 26,432 10 - 10
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้
เกษตรกรปลูกยางพาราต่อไป เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและ
ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกยางพาราในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถน าไปสู่การต่อยอด
โครงการที่ส าคัญต่าง ๆ ได้ เช่น ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นย า เป็นต้น
พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูกยางพารา
ในที่ดินที่ไม่มีข้อจ ากัดทางกายภาพต่อการปลูกยางพารา ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกยางพารา
ที่ส าคัญของจังหวัด โดยกระจายอยู่ในอ าเภอรามัน อ าเภอยะหา อ าเภอเมืองยะลา เป็นต้น
พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูกยางพารา
ในที่ดินที่มีข้อจ ากัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกยางพารา เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ความเป็นกรดเป็นด่าง และแหล่งน้ า โดยกระจายอยู่ในอ าเภอยะหา อ าเภอรามัน อ าเภอเมืองยะลา
เป็นต้น