Page 32 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพังงา
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               27







                             2) พื้นที่ปลูกเงาะที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกเงาะอยู่ มีเนื้อที่ 67 ไร่
                       อยู่ในเขตอำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอทับปุด อำเภอเกาะยาว ตามลำดับ เนื่องจากเป็นไม้ผล ซึ่งบางช่วง
                       มีความต้องการการใช้น้ำในปริมาณมาก ควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ เช่น ชลประทาน
                       แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ใช้ปัจจัยการผลิตในอัตราและช่วงเวลาที่เหมาะสม จะสร้าง

                       ความมั่นใจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกเงาะ ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำ
                       ว่าไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หรือถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเป็นพืชที่มีผลตอบแทนดีกว่า
                       และต้นทุนต่ำ
                             3) พื้นที่ปลูกเงาะในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้ที่ดิน

                       ปลูกเงาะอยู่ ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน
                       ปรับปรุงบำรุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ หาแหล่งเงินทุนประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แนวทางการบริหารจัดการ
                       ให้แก่เกษตรกร ในกรณีที่เงาะถึงอายุต้องโค่นทิ้ง ทั้งนี้เกษตรกรสามารถเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มี
                       ความเหมาะสมและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือ

                       เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น
                             4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกเงาะ แต่ปัจจุบันเกษตรกร
                       ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกเงาะ โดยหันมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น

                       ทั้งนี้หากพืชที่ปลูกเป็นพืชไร่ ในอนาคตสามารถกลับมาปลูกเงาะได้อีก แต่หากเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้น
                       อาจเป็นเรื่องยาก ต้องรอจนพืชเดิมครบอายุตัดโค่น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาต้นทุนการผลิตร่วมด้วย
                       ภาครัฐควรประชาสัมพันธ์และสร้างมาตรการจูงใจให้เกษตรกรกลับมาปลูกเงาะในพื้นที่นี้ หรือทำในรูปแบบ
                       สวนผสมระหว่างไม้ผลเขตร้อน เช่น ทุเรียน มังคุด ลองกอง เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณา
                       ลักษณะทางการตลาดร่วมด้วย
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37