Page 6 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดชุมพร
P. 6
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
1. ข้อมูลทั่วไป
จังหวัดชุมพรมีพื้นที่ 6,009.008 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,755,630 ไร่ ตั้งอยู่ในภาคใต้ของ
ประเทศไทย ประกอบด้วย 8 อำเภอ 69 ตำบล (ตารางผนวกที่ 1) มีจำนวนประชากร 509,208 คน
(กรมการปกครอง, 2563)
1.1 อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ทิศใต้ ติดต่อ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศตะวันออก ติดต่อ อ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดต่อ จังหวัดระนอง และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
1.2 ภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศของจังหวัดชุมพร แบ่งเป็น 3 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ พื้นที่ราบตอนกลาง
พื้นที่ราบชายฝั่งทะเลทางตะวันออกยาว 222 กิโลเมตร และพื้นที่เป็นภูเขาและที่สูงทางทิศตะวันตก
ทิวเขาที่สำคัญ คือ ทิวเขาตะนาวศรี ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศ ที่ราบตอนกลางมี
ลักษณะเป็นที่ราบลูกคลื่นและที่ราบลุ่ม
1.3 ภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของจังหวัดชุมพรได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุม
ตะวันตกเฉียงเหนือ มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม และฤดูฝน
เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม อุณหภูมิเฉลี่ย 27.3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย
34.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 21.6 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 81 เปอร์เซ็นต์
ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยสูงสุด 97 เปอร์เซ็นต์ และความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยต่ำสุด 49 เปอร์เซ็นต์
1.4 ทรัพยากรดิน
ทรัพยากรดินของจังหวัดชุมพรแบ่งตามภูมิสัณฐาน ลักษณะทางธรณีวิทยา และวัตถุ
ต้นกำเนิดดิน ได้ดังนี้
1) หาดและเนินทราย (Beach and sand dune) พื้นที่หาดทรายเป็นพื้นที่ระหว่างแนวน้ำ
ทะเลขึ้นและน้ำทะเลลง มีลักษณะเป็นแนวยาวขนานกับชายฝั่งทะเลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของ
คลื่นและกระแสน้ำทะเล ส่วนพื้นที่เนินทรายหรือสันทรายเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะนูนเป็นโคกเตี้ย ๆ และ
เป็นแนวยาวขนานกับชายฝั่งทะเล มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย การระบายน้ำ
ค่อนข้างมาก มีเนื้อดินเป็นดินทรายและมักมีเปลือกหอยปะปนอยู่ในดิน สีน้ำตาล น้ำตาลปนเหลือง
หรือเหลืองปนแดง เช่น ชุดดินบาเจาะ (Bc) ชุดดินหัวหิน (Hh) ชุดดินบ้านทอน (Bh) เป็นต้น
2) ที่ราบชายฝั่งทะเล (Coastal plain) เกิดจากคลื่นพัดพาและกระแสลมพัดพาเอา
เศษวัตถุจากทะเล ทั้งโคลน กรวด ทราย และตะกอนต่าง ๆ เข้ามาทับถมบริเวณชายฝั่ง และลึกเข้าไป
ในแผ่นดินมากกว่าหาดทราย แบ่งเป็น
(1) พื้นที่น้ำทะเลขึ้นถึงในปัจจุบัน (Active tidal flats) เป็นพื้นที่ที่มีน้ำทะเลขึ้นถึง
ดินมีสีคล้ำ อินทรียวัตถุสูง และเป็นดินเค็ม (saline soil) ดินส่วนใหญ่มีศักยภาพที่ก่อให้เกิดเป็น
ดินกรดกำมะถันหรือเป็นดินเปรี้ยวจัด มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ การระบายน้ำเลวมาก
เนื้อดินเป็นดินทรายแป้งละเอียดหรือเนื้อดินละเอียด อาทิ ชุดดินตะกั่วทุ่ง (Tkt)