Page 12 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดระยอง
P. 12
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
5
ตารางที่ 2 พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีพื้นที่ปลูกมาก 4 ลำดับแรกของจังหวัดระยอง
พืชเศรษฐกิจ เนื้อที่ (ไร่) ร้อยละของพื้นที่เกษตรกรรม
1. ยางพารา 769,071 40.01
2. มันสำปะหลัง 76,000 3.95
3. ทุเรียน 56,474 2.94
4. สับปะรดโรงงาน 45,826 2.38
ที่มา: https://agri-map-online.moac.go.th, 2564
2.1 ยางพารา
ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดระยอง จากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบถึงที่ดอน
มีความเหมาะสมในการปลูกยางพารา จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online
วิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 3 และภาพที่ 8 - 9)
1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกยางพารา
ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 346,040 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 18.01
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอแกลง 129,890 ไร่ อำเภอวังจันทร์ 94,782 ไร่
และอำเภอเมืองระยอง 73,354 ไร่
ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 1,010,489 ไร่ คิดเป็น
ร้อยละ 52.58 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอปลวกแดง 244,673 ไร่
อำเภอเมืองระยอง 188,737 ไร่ และอำเภอบ้านค่าย 180,460 ไร่
ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 70,363 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
3.66 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอแกลง 45,593 ไร่ อำเภอวังจันทร์
10,103 ไร่ และเมืองระยอง 8,119 ไร่
ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 494,961 ไร่
2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกยางพาราในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน
ได้ดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 210,677 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 60.88 ของพื้นที่ศักยภาพสูง
กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอแกลง 67,379 ไร่ อำเภอวังจันทร์ 65,792 ไร่ และอำเภอเมืองระยอง 48,244 ไร่
(2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 453,181 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 44.85 ของพื้นที่
ศักยภาพปานกลาง กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอบ้านค่าย 120,188 ไร่ อำเภอปลวกแดง 111,031 ไร่
และอำเภอแกลง 75,844 ไร่
(3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 21,268 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 30.23 ของพื้นที่
ศักยภาพเล็กน้อย กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอแกลง 10,252 ไร่ อำเภอเมืองระยอง 6,713 ไร่ และ
อำเภอวังจันทร์ 2,280 ไร่
(4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 83,945 ไร่
3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกยางพาราแต่ไม่ใช้พื้นที่ปลูก
พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับการปลูกยางพารา และพื้นที่ปลูกยางพาราในชั้นความ