Page 31 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดปราจีนบุรี
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               24








                       คุณค่าทางอาหารสูง โดยคุณประโยชน์ที่เด่นชัดที่สุดจะพบได้ในน้ ามันร าข้าว และร าข้าว มีคุณสมบัติ
                       ต่อต้านอนุมูลอิสระได้ดี มีธาตุเหล็ก มีใยอาหารที่อยู่ในร าข้าวสูงจึงช่วยชะลอการดูดซึมน้ าตาลท าให้
                       ให้ระดับน้ าตาลในเลือดขึ้นช้ากว่าการบริโภคข้าวกล้องและข้าวขาวขัดทั่วไป

                            3.7  พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-
                       Green Economy) หรือเศรษฐกิจชีวภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็น

                       เรื่องหนึ่งที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสารส าคัญที่น าไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น
                       การแพทย์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องส าอาง เป็นต้น จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืชทางเลือก
                       ในปี 2564 โดยด าเนินการภายใต้ตลาดน าการผลิตและหากทิศทางของตลาดสมุนไพรขยายตัว
                       เพิ่มมากขึ้นจะช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร มีรายได้และความมั่นคงในการด ารงชีพ

                       จากฐานข้อมูล Agri-Map Online จังหวัดปราจีนบุรีมีพื้นที่ศักยภาพที่สามารถส่งเสริมให้ปลูก

                       พืชสมุนไพรได้หลายชนิด เช่น กระชายด า ขมิ้นชัน เป็นต้น
                                 กระชายด า เป็นพืชปลูกง่าย ชอบแสงแดดจัด ความชื้นสูง ดินร่วนซุย มีการระบายน้ าดี
                       ไม่ชอบน้ าขัง เกษตรกรสามารถปลูกขมิ้นชันแซมในสวนเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ และมีรายได้

                       ระหว่างรอการเติบโตของยางพาราหรือปาล์มน้ ามัน โดยพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีมีพื้นที่ศักยภาพ
                       ในการปลูกกระชายด าที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 414,804 ไร่
                                 ขมิ้นชัน เป็นพืชปลูกง่ายสามารถปลูกขึ้นได้ทุกภาคของประเทศไทย เติบโตได้ดี
                       ในที่ดอน ไม่ชอบน้ าท่วมขัง ชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ าดี ปัญหาของโรคและแมลงรบกวน

                       น้อย อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 8-9 เดือน สามารถปลูกเป็นพืชแซมในสวนเป็นการหารายได้
                       เพิ่มเติมได้ โดยพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกขมิ้นชันที่ระดับ
                       ความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ  415,047 ไร่

                       4.  แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ


                            4.1  ข้าว
                                  1)  พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่
                       260,402 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอ าเภอบ้านสร้าง อ าเภอเมืองปราจีนบุรี อ าเภอศรีมหาโพธิ และอ าเภอ
                       ประจันตคาม เป็นต้น ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดิน

                       เพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตข้าวที่ส าคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ าชลประทาน การจัดการดิน
                       ปุ๋ย พันธุ์ข้าว โดยรวมกลุ่มเป็นระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดครบวงจรการตลาด
                       ในและต่างประเทศ การแปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการท ามาตรฐานสินค้า
                       เกษตรอินทรีย์ และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agriculture Practices: GAP)

                                 2)  พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่

                       291,002 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอ าเภอกบินทร์บุรี อ าเภอศรีมหาโพธิ อ าเภอประจันตคาม อ าเภอเมือง
                       ปราจีนบุรี และอ าเภอนาดี เป็นต้น เป็นพื้นที่ปลูกข้าวที่มีข้อจ ากัดไม่มากนักเกษตรกรยังคงปลูกข้าว
                       ได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหาขาดน้ าในบางช่วงของการเพาะปลูก การสนับสนุนด้านการชลประทาน
                       จะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการใช้ที่ดิน ปัญหาการทิ้งถิ่นจะลดลง และพื้นที่ในเขตนี้

                       มีความเหมาะสมสูงส าหรับการเกษตรแบบผสมผสาน หรือเกษตรทฤษฎีใหม่
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36