Page 30 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดปราจีนบุรี
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               23








                       3.  พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด

                            3.1  ทุเรียนปราจีนบุรี เป็นสินค้าเกษตรบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI)
                       ของจังหวัดปราจีนบุรี ประกอบด้วยพันธุ์ก้านยาว พันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี พันธุ์กระดุมทอง
                       และทุเรียนสายพันธุ์พื้นเมือง ประกอบด้วย ทุเรียนพันธุ์กบชายน้ า พันธุ์ชมพูศรี และพันธุ์ก าปั่น

                       ลักษณะเด่น คือ ทุเรียนมีเนื้อสีเหลือง แห้ง หนา เส้นใยน้อย หวานมัน เปลือกผลบาง
                       ผิวเปลือกสีน้ าตาลถึงน้ าตาลเข้ม หนามถี่ สภาพพื้นที่มีความเหมะสมกับการปลูกทุเรียน ดินบน
                       เป็นดินร่วนปนทรายดินล่างเป็นหินผุและศิลาแลง ท าให้การระบายน้ าดี น้ าไม่ขัง

                            3.2  ไผ่ตงศรีปราจีนบุรี เป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ มีลักษณะเด่น
                       คือ เป็นพันธุ์ไผ่ที่โตเร็ว กิ่งแขนงที่ใช้ท าพันธุ์ของตงด าจะเป็นสีเขียวเข้มมีนวลแป้งสีขาวจับอยู่บริเวณ

                       ปล้อง บริเวณข้อจะค่อนข้างเรียบ และแตกให้หน่อดี ปริมาณหน่อเยอะ หน่อให้น้ าหนักประมาณ 2-3
                       กิโลกรัม สามารถเก็บหน่อได้หลังปลูกเพียง 1-2 ปี อีกทั้งล าต้นมีขนาดใหญ่ หน้าตัดตั้งแต่ 4 - 6 นิ้ว
                       ท าให้เหมาะกับการน าไปใช้ในกิจกรรมการเกษตร เช่น การน าไปท าหลักปักเพื่อเลี้ยงหอยแมลงภู่
                       อีกทั้งหลังจากลงปลูกครั้งแรกประมาณ 1 ปี สามารถตอนกิ่งจ าหน่ายเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง


                            3.3  ยูคาลิปตัส สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมเกือบทุกสภาพพื้นที่ของ
                       ประเทศไทย แต่จะไม่ทนทานต่อดินที่มีหินปูนสูง เป็นที่นิยมปลูกของเกษตรกรเนื่องจากการดูแลและ
                       จัดการที่ไม่ยุ่งยากรวมทั้งสามารถน ามาใช้ประโยชน์ได้ภายในระยะเวลาประมาณ 4-5 ปี
                       โดยอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไม้ยูคาลิปตัสเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมเยื่อและ
                       กระดาษ ซึ่งจัดเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีความส าคัญต่อการพัฒนาประเทศ การปลูกยูคาลิปตัส

                       สามารถปลูกควบคู่ไปกับไม้โตช้าได้ เพื่อเป็นการกระจายรายได้ เพราะสามารถทยอยตัดไม้ยูคาลิปตัส
                       ขายไปก่อนจนกว่าไม้โตช้าจะเจริญเติบโต และสามารถปลูกยูคาลิปตัสบนคันนาได้ เป็นการใช้
                       ประโยชน์ที่ดินในส่วนนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลูกข้าวในรอบปี

                            3.4  กระท้อน เป็นไม้ผลเมืองร้อนอีกชนิดหนึ่งที่มีปลูกกันในประเทศไทย พันธุ์ที่นิยมปลูก

                       เช่น พันธุ์อีล่า พันธุ์ทับทิมทอง พันธุ์ปุยฝ้าย มีรสชาติอร่อยลิ้น เมล็ดมีปุยหนา รับประทานได้
                       ทั้งเปลือกผลและเนื้อผล จึงนิยมน ามาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าเป็นกระท้อนหยี กระท้อนแช่อิ่ม กระท้อน
                       ลอยแก้ว กระท้อนกวน ดินที่เหมาะสมในการปลูกเป็นดินรวนหรือดินรวนปนดินเหนียว

                            3.5  ข้าวสินเหล็ก ได้จากผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิลกับข้าวขาวดอกมะลิ 105
                       เป็นข้าวกล้องมีสีครีมมีกลิ่นหอมรูปร่างเมล็ดเรียวยาวไม่ไวต่อช่วงแสงปลูกได้ตลอดทั้งปี

                       มีความต้านทานต่อโรคไหม้ ข้าวสินเหล็กเป็นข้าวหอมนุ่มที่มีดัชนีน้ าตาลต่ าถึงปานกลาง
                       ช่วยแก้ปัญหาเบาหวานได้ ท าให้สภาวะดื้อต่อ insulin ลดลง และการท างานของตับอ่อนดีขึ้น
                       มีธาตุเหล็กในเมล็ดสูง

                            3.6  ข้าวไรซ์เบอรี่ เป็นการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิลกับข้าวขาว
                       ดอกมะลิ 105 เป็นข้าวจ้าวสีม่วงเข้มคล้ายกับลูกเบอร์รี่ที่มีสีม่วงเข้มเมื่อสุกมีลักษณะเรียวยาว

                       ผิวมันวาวสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี มีอายุเก็บเกี่ยว 130 วัน ให้ผลผลิตปานกลาง มีความสามารถ
                       ต้านทานต่อโรคไหม้ แต่ไม่ต้านทานโรคหลาว แนะน าให้เปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ทุกรอบของการปลูก
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35