Page 38 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดชลบุรี
P. 38

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               31








                             3) พื นที่ปลูกอ้อยโรงงานในพื นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร
                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกอ้อยโรงงานอยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ าซาก เช่น น้ าท่วม ขาดน้ า ผลผลิตต่ า

                       กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ท ากินในพื้นที่นี้ โดยควรสนับสนุนการปรับ
                       โครงสร้างที่ดิน สนับสนุนแหล่งน้ า ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า

                       รวมถึงควรสนับสนุนข้อมูลด้านการตลาดของพืชชนิดใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เพื่อเลือกพืชที่ปลูก

                       ให้เหมาะสมกับพื้นที่ อาทิ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map)

                             4) พื นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมส าหรับการปลูกอ้อยโรงงาน แต่ปัจจุบันเกษตรกร

                       ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน พบว่า เกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ปาล์มน้ ามัน ข้าว มังคุด มะพร้าว
                       เป็นต้น ทั้งนี้ ภาครัฐควรให้ความรู้แก่เกษตรกรในการปรับปรุงบ ารุงดินไม่ให้เสื่อมโทรม และสร้างแรงจูงใจ

                       ให้กลับมาปลูกอ้อยโรงงานเหมือนเดิม เนื่องจากพื้นที่มีความเหมาะสม ท าให้ใช้ต้นทุนการผลิตต่ าและ
                       ผลผลิตมีคุณภาพดี ทั้งนี้เกษตรกรต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย


                         4.4  ปาล์มน  ามัน
                             พื้นที่ปลูกปาล์มน้ ามันในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้

                       ที่ดินปลูกปาล์มน้ ามันอยู่ มีเนื้อที่ 124,5421 ไร่ ในพื้นที่ดังกล่าวมีปัญหาเรื่องความชื้นที่ไม่เพียงพอต่อ

                       ความต้องการของปาล์มน้ ามัน ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาตาดอกและการสุกของผล รวมทั้งเปอร์เซ็นต์น้ ามัน
                       ต่อทะลายด้วย ดังนั้นการช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวควรมีการสนับสนุนโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุง

                       บ ารุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ า พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม

                       กับสภาพพื้นที่ และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า อย่างไรก็ตาม ปาล์มน้ ามันเป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุ 20-25 ปี
                       การปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นจึงท าได้ยาก ฉะนั้นควรส่งเสริมสินค้าเกษตรชนิดอื่น ๆ ที่สามารถปลูก

                       หรือเลี้ยงร่วมกับปาล์มน้ ามันได้ หรือเข้าร่วมโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map)
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43