Page 27 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอ่างทอง
P. 27

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               20








                         3.4  พืชผักสวนครัว
                               1) ตะไคร้  มีต้นทุนการผลิต 22,089  บาท/ไร่ ระยะเวลาปลูกถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ
                       5 - 6 เดือน ซึ่งใน 1 ปี สามารถปลูกได้ถึง 2 รอบ เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 20,086 บาท/ไร่ /
                       รอบการผลิต ราคารับซื้อในจังหวัดอยู่ที่กิโลกรัมละ 13 - 15 บาท โดยตะไคร้สามารถท าสมุนไพร แปรรูป

                       เช่น ชาตะไคร้ ส่งขายได้ทั้งตลาดภายในจังหวัดและภายนอกจังหวัด อาทิ ศูนย์ท าสมุนไพรแปรรูป
                       จังหวัดอ่างทอง ตลาดไท และตลาดสี่มุมเมือง
                               2) ชะอม  มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 19,734  บาท/ไร่ ระยะเวลาปลูกประมาณ 2  เดือนขึ้นไป
                       ยอดจะแตกออกมาให้เก็บผลผลิต และยิ่งมีการดูแลที่ถูกวิธีและให้น้ าอย่างสม่ าเสมอสามารถเก็บยอดได้

                       วันเว้นวัน สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้เกือบทุกวัน ให้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 22,266  บาท/ไร่/ปี
                       ราคารับซื้อในจังหวัดอยู่ที่กิโลกรัมละ 10 - 15 บาท ส่งขายตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง และผู้บริโภคโดยตรง
                       นอกจากจะตัดยอดขายแล้วยังสามารถช ากิ่งพันธุ์ขายได้อีกด้วย
                               3) ข่าแดง (ข่าอ่อน) มีต้นทุนการผลิต 68,998 บาท/ไร่ ระยะเวลาในการปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว

                       ผลผลิตได้รุ่นละประมาณ 7 - 8 เดือน และเมื่อถึงอายุเก็บเกี่ยว ยังสามารถปล่อยทิ้งไว้ได้อีกประมาณ
                       7 - 8 เดือน เพราะข่าจะแตกหน่อใหม่อย่างต่อเนื่อง ให้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 27,003 บาท/ไร่/รอบ
                       การผลิต ราคารับซื้อในจังหวัดอยู่ที่กิโลกรัมละ 15 - 20 บาท และยังสามารถน ามาแปรรูปเป็นส่วนผสม

                       ของพริกแกงได้อีกด้วย ส่งขายได้ทั้งตลาดสดภายในจังหวัดและภายนอกจังหวัด เช่น ตลาดไท ส่วนข่าแก่
                       ส่งขายให้กับศูนย์ท าสมุนไพรแปรรูปจังหวัดอ่างทอง
                               4) มะเขือเทศราชินี  มีต้นทุนการผลิต 34,252  บาท/ไร่ สามารถเริ่มเก็บเกี่ยวเมื่อต้นมีอายุ
                       ประมาณ 70 - 90 วัน ให้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 46,891 บาท/ไร่/รอบการผลิต ราคารับซื้อในจังหวัด
                       อยู่ที่กิโลกรัมละ 40 - 60 บาท ส่งขายพ่อค้าทั่วไปและผู้บริโภคโดยตรง


                         3.5  พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green
                       Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็นเรื่องหนึ่งที่
                       ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสารส าคัญที่น าไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์
                       ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องส าอาง เป็นต้น จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืชทางเลือกใน
                       พ.ศ. 2564 โดยด าเนินการภายใต้ตลาดน าการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพรขยายตัวเพิ่ม

                       มากขึ้นจะช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร มีรายได้และความมั่นคงในการด ารงชีพจากฐานข้อมูล
                       Agri-Map  Online จังหวัดอ่างทองมีพื้นที่ศักยภาพที่สามารถส่งเสริมให้ปลูกพืชสมุนไพร 2 ชนิด คือ
                       ขมิ้นชัน และบัวบก

                               1) ขมิ้นชัน เป็นพืชล้มลุกที่จัดอยู่ในตระกูลขิง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าจะเป็นสีเหลือง
                       มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว  หัวมีตั้งแตสีเหลืองเขมจนถึงสีแสดจัด  สามารถขึ้นไดดีในดินทุกชนิด แตที่เหมาะสม
                       ควรเป็นดินที่ระบายนํ้าดี  นํ้าไมทวมขัง  ถาเป็นดินเหนียวควรใสปุยหมักหรือปุยคอกอัตรา  1  ตัน/ไร่
                       เพื่อปรับปรุงคุณภาพของดิน  โดยพบวาจังหวัดอางทองมีพื้นที่ศักยภาพเหมาะสมปานกลางส าหรับปลูก

                       ขมิ้น  (S2) มีเนื้อที่  32,877  ไร่ ซึ่งกระจายอยูในอ าเภอตาง  ๆ  เลียบเสนทางแมนํ้า  พบมากที่สุดใน
                       อ าเภอโพธิ์ทอง 9,741  ไร  รองลงมา ไดแก อ าเภอเมืองอางทอง 6,392 ไร  และอ าเภอไชโย 5,550  ไร่
                       ตามล าดับ
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32