Page 18 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสุพรรณบุรี
P. 18
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
11
ตารางที่ 4 พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตข้าว
อ้อยโรงงาน (ไร่) มันสำปะหลัง (ไร่)
อำเภอ
S3 N รวม S3 N รวม
เมืองสุพรรณบุรี 1,230 - 1,230 70 - 70
สองพี่น้อง 3,025 62 3,087 - - -
บางปลาม้า - 73 73 - - -
เดิมบางนางบวช 20,265 - 20,265 11 - 11
อู่ทอง 15,644 - 15,644 66 - 66
ศรีประจันต์ 4,327 - 4,327 8 - 8
ด่านช้าง 3,190 - 3,190 - - -
สามชุก 13,641 - 13,641 - - -
หนองหญ้าไซ 65,165 - 65,165 805 - 805
ดอนเจดีย์ 33,900 - 33,900 1,572 - 1,572
รวม 160,387 135 160,522 2,532 - 2,532
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
ปลูกข้าวต่อไป เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี
ซึ่งการปลูกข้าวในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้น สามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น
เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูกข้าวในที่ดินที่ไม่มี
ข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกข้าว ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของจังหวัด
กระจายตัวอยู่ในอำเภอบางปลาม้า อำเภอเมืองสุพรรณบุรี และอำเภอสองพี่น้อง
พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูกข้าวในที่ดินที่มี
ข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกข้าว เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง
และแหล่งน้ำ กระจายตัวอยู่ในอำเภอหนองหญ้าไซ อำเภอดอนเจดีย์ และอำเภออู่ทอง
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น ทำการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
โดยพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย