Page 18 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสมุทรปราการ
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               12







                       4. แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ


                         4.1  ข้าว
                               พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่ 18,126 ไร่
                       กระจายตัวอยู่ในอ าเภอบางบ่อ และอ าเภอบางเสาธง ทั้งนี้โดยคณะอนุกรมพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้
                       มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตข้าวที่ส าคัญของจังหวัด และมีการบริหาร
                       จัดการน้ าชลประทาน การจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์ข้าว มีการรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ พัฒนาต่อ

                       ยอดครบวงจรด้านการตลาดในและต่างประเทศการแปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการท า
                       มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good  Agricultural  Practices:  GAP)

                       เนื่องจากเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง การปลูกพืชหลังนาจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการ
                       ปรับปรุงบ ารุงดิน ทั้งนี้ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะน าว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่มี

                       ความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวจึงไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หากข้าวราคาไม่ดีถ้าต้องการ
                       เปลี่ยนชนิดพืชควรเป็นพืชไร่ เพื่อที่ในอนาคตจะได้กลับมาท านาได้อีก

                         4.2  มะพร้าว
                             (1) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกมะพร้าวอยู่ มีเนื้อที่
                       มากถึง 302 ไร่ กระจายตัวอยู่ในอ าเภอพระประแดง และอ าเภอเมืองสมุทรปราการ เกษตรกรยังคงปลูก

                       มะพร้าวได้ผลดี การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต สนับสนุนการปรับปรุงบ ารุงดิน เพื่อพัฒนาศักยภาพ
                       ของที่ดินให้มีความเหมาะสมต่อการปลูกมะพร้าวมากยิ่งขึ้น สนับสนุนมะพร้าวพันธุ์ดีที่ทนต่อโรคแมลง

                       ให้ความรู้ในการก าจัดโรคแมลงศัตรูมะพร้าวที่เหมาะสม สนับสนุนการจัดตั้งแหล่งรับซื้อผลผลิต
                       มะพร้าวในพื้นที่ และเชื่อมโยงการตลาด โดยมีตลาดรับซื้อผลผลิตมะพร้าวส ารอง ที่สามารถรองรับ

                       ผลผลิตทางการเกษตรในช่วงที่ผลผลิตล้นตลาด หรือเกินก าลังผลิตของโรงงานแปรรูปในพื้นที่
                       ใกล้เคียง พัฒนาสถาบันเกษตรกรให้เข้มแข็ง และเป็น Smart  Farmer  โดยน าเทคโนโลยี

                       และนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเป็นฟาร์มหรือแปลงเกษตรอัจฉริยะ
                             (2) พื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่มีความเหมาะสม (S3  และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้ที่ดิน
                       ปลูกมะพร้าวอยู่ 241 ไร่ ทั้งนี้ควรให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ท ากินในพื้นที่นี้ โดยให้ความรู้เกษตรกร
                       ในการปรับเปลี่ยนชนิดพืชให้เหมาะสมตรงตามศักยภาพของพื้นที่ สนับสนุนให้เข้าร่วมโครงการต่าง ๆ

                       อาทิ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning  by  Agri-Map)  พร้อมทั้งจัดระบบการผลิต
                       และการบริหารจัดการดิน น้ า ปุ๋ย ที่เหมาะสมส าหรับมะพร้าว การสนับสนุนแหล่งน้ า และการส่งเสริม
                       ให้ความรู้ในการปรับปรุงบ ารุงดิน และการท าเกษตรผสมผสาน
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23