Page 13 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดเพชรบุรี
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                6







                       2. การวิเคราะหพืชเศรษฐกิจหลัก

                         พืชเศรษฐกิจที่สําคัญพิจารณาจากพืชที่มีพื้นที่ปลูกมาก และมีมูลคาการสงออกหรือแปรรูปโดย
                       กระทรวงเกษตรและสหกรณประกาศพืชเศรษฐกิจ 13 ชนิดพืช ไดแก ขาว มันสําปะหลัง ยางพารา
                       ปาลมน้ํามัน ออยโรงงาน ขาวโพดเลี้ยงสัตว สับปะรดโรงงาน ลําไย เงาะ ทุเรียน มังคุด มะพราว

                       และกาแฟ จากพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจดังกลาว กรมพัฒนาที่ดินไดกําหนดระดับความเหมาะสมของ
                       พื้นที่ปลูกรายจังหวัด โดยวิเคราะหจากสภาพพื้นที่ ลักษณะของดิน ปริมาณน้ําฝน แหลงน้ํา
                       ชลประทาน รวมกับการจัดการพื้นที่และลักษณะรายพืช โดยแบงระดับความเหมาะสม เปน 4 ระดับ
                       ไดแก

                           ระดับที่ 1 เปนพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) การปลูกพืชใหผลตอบแทนสูง
                           ระดับที่ 2 เปนพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) การปลูกพืชใหผลตอบแทนสูง แตพบ
                       ขอจํากัดบางประการซึ่งสามารถบริหารจัดการได

                           ระดับที่ 3 เปนพื้นที่ความเหมาะสมเล็กนอย (S3) มีขอจํากัดการของดินและน้ํา สงผลใหการผลิต
                       พืชใหผลตอบแทนต่ํา การใชพื้นที่ตองใชตนทุนสูงในการจัดการ และมีความเสี่ยงจากน้ําทวมและขาดน้ํา
                           ระดับที่ 4 เปนพื้นที่ไมเหมาะสม (N)
                          จังหวัดเพชรบุรี มีพื้นที่พืชเศรษฐกิจสําคัญที่ปลูกมาก 4 ลําดับแรก ไดแก ขาว ออยโรงงาน
                       สับปะรดโรงงาน และมะพราว ตามลําดับ (ตารางที่ 2)


                       ตารางที่ 2 พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีพื้นที่ปลูกมาก 4 ลําดับแรกของจังหวัดเพชรบุรี

                               พืชเศรษฐกิจ                   เนื้อที่ (ไร)      รอยละของพื้นที่เกษตรกรรม

                            1. ขาว                           393,222                      73.60
                            2. ออยโรงงาน                      66,402                      12.43
                            3. สับปะรดโรงงาน                   26,571                       4.97

                            4. มะพราว                         20,223                       3.79
                       ที่มา: https://agri-map-online.moac.go.th, 2564

                         2.1  ขาว
                                ขาวเปนพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดเพชรบุรี จากฐานขอมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ
                       Agri-Map Online วิเคราะหขอมูลไดดังนี้ (ตารางที่ 3 และภาพที่ 6 - 7)


                               1) การวิเคราะหศักยภาพของพื้นที่ปลูกขาว
                                   ระดับที่ 1 เปนพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 387,248 ไร คิดเปนรอยละ 26.44
                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน 1,464,418 ไร  กระจายตัวอยูในอําเภอเมืองเพชรบุรี 138,974 ไร
                       อําเภอทายาง 67,406 ไร และอําเภอเขายอย 63,272 ไร
                                   ระดับที่  2 เปนพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 117,811 ไร คิดเปน

                       รอยละ 8.04 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวอยูในอําเภอชะอํา 28,309 ไร อําเภอทายาง
                       21,194 ไร และอําเภอบานแหลม 17,070 ไร
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18