Page 23 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 23
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
16
ตารางที่ 6 พื้นที่มีศักยภาพในการขยายการผลิตยางพารา
ปาล์มน้ำมัน (ไร่) ข้าว (ไร่)
อำเภอ
S3 N รวม S3 N รวม
กุยบุรี - 5,599 5,599 12,240 737 12,977
ทับสะแก - 4,901 4,901 5,598 890 6,488
บางสะพาน - 20,193 20,193 2,823 211 3,034
บางสะพานน้อย 18,833 35,057 53,890 136 20 156
ปราณบุรี - 1,832 1,832 2,941 - 2,941
เมืองประจวบคีรีขันธ์ - 6,293 6,293 1,792 - 1,792
สามร้อยยอด - 8,165 8,165 10,330 2 10,332
หัวหิน - 284 284 - - -
รวม 18,833 82,324 101,157 35,860 1,860 37,720
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
ปลูกยางพาราต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิต
ที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกยางพาราในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการ
ที่สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกยางพาราในที่ไม่มี
ข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกยางพารา ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกสำคัญของจังหวัด
โดยกระจายอยู่ในอำเภอบางสะพานน้อย อำเภอบางสะพาน และเมืองประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น
พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูกยางพารา
ในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกยางพารา เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ความเป็นกรดเป็นด่าง และแหล่งน้ำ โดยกระจายอยู่ในอำเภอบางสะพานน้อย อำเภอบางสะพาน
และทับสะแก เป็นต้น
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุน
ให้เข้าโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกยางพารา
มีต้นทุนที่ต่ำ และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย