Page 19 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 19
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
12
2.2 ยางพารา
ยางพาราพืชเศรษฐกิจหลักของประจวบคีรีขันธ์ในลำดับที่ 2 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตร
เชิงรุก หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 5 และภาพที่ 8 - 9)
1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกยางพารา
ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 229,285 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.40 ของพื้นที่
ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอบางสะพานน้อย 75,018 ไร่ อำเภอเมือง
ประจวบคีรีขันธ์ 40,794 ไร่ และอำเภอบางสะพาน 33,393 ไร่
ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 707,391 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 28.85
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอบางสะพาน 232,976 ไร่ อำเภอทับสะแก
190,507 ไร่ อำเภอบางสะพานน้อย 114,647 ไร่ เป็นต้น
ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 228,452 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.32
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอบางเมืองประจวบคีรีขันธ์ 168,116 ไร่ อำเภอ
หัวหิน 34,148 ไร่ อำเภอปราณบุรี 10,326 ไร่
ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 1,286,737 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 52.43 ของ
พื้นที่ศักยภาพของที่ดิน
2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกยางพาราในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน ได้ดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) ในการปลูกยางพารา มีเนื้อที่ 38,273 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 16.69
ของพื้นที่ศักยภาพสูง กระจายอยู่ในอำเภอบางสะพานน้อย 19,116 ไร่ อำเภอบางสะพาน 12,402 ไร่
และอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ 4,378 ไร่
(2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) ในการปลูกยางพารา มีเนื้อที่ 106,065 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
15.00 ของพื้นที่ศักยภาพปานกลาง กระจายอยู่ในอำเภอบางสะพาน 53,236 ไร่ อำเภอบางสะพานน้อย
39,251 ไร่ และอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ 6,774 ไร่
(3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) ในการปลูกยางพารา มีเนื้อที่ 37,826 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
16.56 ของพื้นที่ศักยภาพเล็กน้อย กระจายอยู่ในอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ 24,379 ไร่ อำเภอ
บางสะพานน้อย 4,727 ไร่ อำเภอหัวหิน 4,298 ไร่
(4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) ในการปลูกยางพารา มีเนื้อที่ 75,551 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.87
ของพื้นที่ศักยภาพไม่เหมาะสม
3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกยางพาราแต่ยังไม่มีการปลูก
พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับปลูกยางพารา และพื้นที่เพาะปลูกยางพาราในชั้นความ
เหมาะสมต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับเหมาะสมสูง
(S1) และพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 792,438 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกอำเภอ อำเภอที่มี