Page 14 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 14
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
7
ตารางที่ 2 พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีพื้นที่ปลูกมาก 4 ลำดับแรกของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พืชเศรษฐกิจ เนื้อที่ (ไร่) ร้อยละของพื้นที่เกษตรกรรม
1. มะพร้าว 409,940 22.26
2. ยางพารา 257,715 13.99
3. สับปะรดโรงงาน 242,057 13.14
4. ปาล์มน้ำมัน 137,363 7.46
ที่มา: https://agri-map-online.moac.go.th, 2564
2.1 มะพร้าว
มะพร้าวพืชเศรษฐกิจหลักของประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากมีตลาดมะพร้าวขนาดใหญ่รองรับ
เป็นแหล่งผลิตมะพร้าวทับสะแก ซึ่งเป็นมะพร้าวที่นิยมเอามาใช้ทำกะทิแกง ประกอบกับเกษตรกร
มีความถนัดในการผลิตมาตั้งแต่อดีต จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online
วิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 3 และภาพที่ 6 - 7)
1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกมะพร้าว
ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 561,483 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 22.90
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอบางสะพาน 209,454 ไร่ อำเภอทับสะแก
186,606 ไร่ และอำเภอบางสะพานน้อย 147,496 ไร่
ระดับที่ 3 พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 1,033,503 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 42.16 ของ
พื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ 270,328 ไร่ อำเภอหัวหิน
264,519 ไร่ อำเภอสามร้อยยอด 142,394 ไร่
ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 856,610 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 34.94 ของพื้นที่
ศักยภาพของที่ดิน
2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกมะพร้าวในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน
ได้ดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) ในการปลูกมะพร้าว มีเนื้อที่ 290,255 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
51.70 ของพื้นที่ศักยภาพสูง กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอทับสะแก 134,460 ไร่ อำเภอบางสะพาน
110,065 ไร่ อำเภอบางสะพานน้อย 38,972 ไร่
(2) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) ในการปลูกมะพร้าว มีเนื้อที่ 110,182 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
10.66 ของพื้นที่ศักยภาพเล็กน้อย กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ 51,121 ไร่
อำเภอกุยบุรี 23,511 ไร่ อำเภอสามร้อยยอด 14,464 ไร่