Page 9 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                2







                              1) พื้นที่หาดทรายและเนินทราย (Beach and Sand Dune) พื้นที่หาดทราย เป็นพื้นที่
                       ระหว่างแนวน้ำทะเลขึ้นและน้ำทะเลลง มีลักษณะเป็นแนวยาวขนานกับชายฝั่งทะเลที่เกิดขึ้นจากการ

                       กระทำของคลื่นและกระแสน้ำทะเล ส่วนพื้นที่เนินทรายหรือสันทรายเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะนูนเป็นโคก
                       เตี้ย ๆ และเป็นแนวยาวขนานกับชายฝั่งทะเล มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย

                       การระบายน้ำค่อนข้างมาก มีเนื้อดินเป็นดินทรายและมักมีเปลือกหอยปะปนอยู่ในดิน สีน้ำตาล

                       น้ำตาลปนเหลือง หรือเหลืองปนแดง เช่น ชุดดินหัวหิน (Hh) และชุดดินบาเจาะ (Bc) เป็นต้น

                              2) ที่ราบชายฝั่งทะเล (Coastal Plain) เกิดจากคลื่นพัดพาและกระแสลมพัดพาเอาเศษ

                       วัตถุจากทะเล ทั้งโคลน กรวด ทราย และตะกอนต่าง ๆ เข้ามาทับถมบริเวณชายฝั่ง และลึกเข้าไป
                       ในแผ่นดินมากกว่าหาดทราย แบ่งเป็น

                                 (1) พื้นที่น้ำทะเลขึ้นถึงในปัจจุบัน (Active tidal flats) เป็นพื้นที่ที่มีน้ำทะเลขึ้นถึง

                       ดินมีสีคล้ำ อินทรียวัตถุสูงและเป็นดินเค็ม (saline soil) ดินส่วนใหญ่มีศักยภาพที่ก่อให้เกิดเป็นดินกรดกำมะถัน

                       หรือเป็นดินเปรี้ยวจัด มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ การระบายน้ำเลวมาก เนื้อดินเป็นดินทรายแป้งละเอียด
                       หรือเนื้อดินละเอียด อาทิ ชุดดินท่าจีน (Tc)

                                 (2) พื้นที่ที่น้ำทะเลเคยท่วมถึง (Former tidal flats) ในอดีตเป็นพื้นที่ที่น้ำทะเลเคยท่วมถึง

                       เป็นช่วงต่อระหว่างตะกอนทะเลกับตะกอนน้ำจืด มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ หรือเป็นแอ่งต่ำ

                       มีน้ำขังตลอดปี การระบายน้ำเลวมาก มีเนื้อดินเป็นดินทรายแป้งละเอียดหรือดินเหนียว ที่มีการพัฒนาชั้นดิน

                       ไม่มากนัก สีเทาอ่อน มีจุดประสีน้ำตาลแก่ น้ำตาลปนเหลือง และน้ำตาลปนเขียวมะกอก เช่น ชุดดินรังสิต (Rs)
                       ชุดดินสมุทรปราการ (Sm) เป็นต้น

                                 (3) ที่ที่ราบลุ่มระหว่างสันทราย (Swale) เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำหลังแนวสันทราย ซึ่งเคยเป็น

                       ชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ เป็นดินลึกมาก เนื้อดินเป็นทราย

                       ถึงทรายปนดินร่วน สีน้ำตาลปนเทาและเทา พบจุดประสีเหลืองปนแดงและน้ำตาลปนเหลือง

                       การระบายน้ำเลวถึงเลวมาก มักอิ่มตัวด้วยน้ำตลอดเวลา มีเศษเปลือกหอยปะปนในเนื้อดิน อาทิ

                       ชุดดินวัลเปรียง (Wp)
                                 (4) ลานตะพักทะเลเก่า (Marine terrace) เป็นพื้นที่แสดงอิทธิพลการกัดเซาะโดยน้ำเป็น

                       ขั้นบันได ดินมักพบมีวัสดุที่แตกต่างกันในหน้าตัดดิน และจะมักมีการสะสมของเปลือกหอย กระดอง

                       สัตว์ทะเลต่าง ๆ ร่วมกับวัสดุที่เป็นทราย และอาจมีการสะสมคาร์บอเนตหรือยิปซัม อาทิ

                       ชุดดินหนองแก (Nk)
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14