Page 11 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                4







                                 (1) พัฒนาจากกลุ่มหินตะกอนหรือหินแปรเนื้อหยาบหรือหินในกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นหินทราย
                       และหินควอร์ตไซต์ ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกปานกลาง เนื้อดินเป็นดินร่วนหยาบถึงดิน

                       ร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ำตาล น้ำตาลปนเหลือง น้ำตาลปนแดง จนถึงแดง การระบายน้ำดี
                       พบเศษหินปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน เช่น ชุดดินลาดหญ้า(Ly) และชุดดินท่ายาง (Ty) เป็นต้น

                                 (2) พัฒนาจากหินทราย ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกมาก เนื้อดินเป็นทรายปนดิน

                       ร่วนถึงดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีแดง น้ำตาล และน้ำตาลปนแดง การระบายน้ำดี
                       ถึงมากเกินไป พบเศษหินปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน เช่น ชุดดินคอหงษ์ (Kh) และชุดดินหลังสวน

                       (Lan) เป็นต้น
                                 (3) พัฒนาจากกลุ่มหินตะกอนหรือหินแปรเนื้อละเอียดหรือหินในกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็น

                       หินดินดาน และหินฟิลไลต์ ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกปานกลาง เนื้อดินเป็นดินเหนียว

                       ละเอียดถึงดินเหนียวปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ำตาล น้ำตาลปนแดง และน้ำตาลปนเหลือง การระบาย
                       น้ำดี พบเศษหินปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน เช่น ชุดดินมวกเหล็ก (Ml) และชุดดินนาทอน (Ntn)

                       เป็นต้น

                                 (4) พัฒนาจากหินปูน ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกมาก เนื้อดินเป็นดินเหนียว
                       ละเอียดถึงดินเหนียวปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีแดง น้ำตาล และน้ำตาลปนแดง การระบายน้ำดี พบเศษ

                       หินปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน เช่น ชุดดินอ่าวลึก (Ak) ชุดดินหินซ้อน (Hs) เป็นต้น
                                 (5) พัฒนาจากหินอัคนีชนิดหินแกรนิต ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกมาก

                       เนื้อดินเป็นดินร่วนหยาบถึงดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ำตาล น้ำตาลปนแดง ถึงแดง การระบาย

                       น้ำดี เช่น ชุดดินสัตหีบ (Sh) และชุดดินทุ่งหว้า (Tg) เป็นต้น
                                 (6) พัฒนาจากหินไมกาชีสต์หรือหินไนส์ ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้น เนื้อดินเป็นดินร่วน

                       ปนชิ้นส่วนหยาบมาก มีสีน้ำตาลและน้ำตาลปนเหลือง ดินมีการระบายน้ำดี อาทิ ชุดดินทับเสลา (Tas)
                              6) พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ทรัพยากรดิน

                       มีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่

                                 ซึ่งได้แสดงรายละเอียดของชุดดินที่พบมากของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ภาพที่ 1 - 5)


                         1.5 สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                              สภาพการใช้ที่ดินปัจจุบันของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากฐานข้อมูลแผนที่สภาพการใช้ที่ดิน

                       ของกรมพัฒนาที่ดิน (ตารางที่ 1)
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16