Page 22 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครนายก
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                               15








                             4) แนวทางการจัดการ

                               (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้

                       เกษตรกรปลูกมันสำปะหลังต่อไป เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและ
                       ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอด

                       โครงการที่สำคัญต่างๆ ได้ เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ
                       เป็นต้น

                                 พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง

                       ในที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกมันสำปะหลังซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูก
                       มันสำปะหลังที่สำคัญของจังหวัด โดยกระจายอยู่ในอำเภอเมืองนครนายก และอำเภอบ้านนา

                                 พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง  (S2) คือ พื้นที่ปลูก
                       มันสำปะหลังในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกมันสำปะหลัง  เช่น ความอุดมสมบูรณ์

                       ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง ความชื้น ซึ่งไม่พบแหล่งปลูกในจังหวัดนครนายก

                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม  (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
                       เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม  เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูก

                       มันสำปะหลัง มีต้นทุนที่ต่ำ และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                         2.4  มะพร้าว
                             มะพร้าวพืชเศรษฐกิจเป็นหลักของจังหวัดนครนายกในลำดับที่  4 จากฐานข้อมูลในแผนที่

                       เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 8 และภาพที่ 12 – 13)

                                1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกมะพร้าว ไม่พบพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง (S1)
                       มีรายละเอียดดังนี้

                                   ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 59,095 ไร่ คิดเป็น
                       ร้อยละ 6.05 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน 976,254 ไร่ กระจายตัวอยู่ในอำเภอเมืองนครนายก

                       31,571 ไร่ อำเภอบ้านนา 25,747 ไร่ อำเภอปากพลี 1,760 ไร่ และอำเภอองครักษ์ 17 ไร่

                                   ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย  (S3) มีเนื้อที่ 13,534 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       1.39 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวอยู่ในอำเภอเมืองนครนายก  9,984 ไร่ อำเภอบ้านนา

                       2,118 ไร่ และอำเภอปากพลี 1,432 ไร่
                                   ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 903,625 ไร่

                               2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกมะพร้าวในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน

                       พบว่า จังหวัดนครนายก มีพื้นที่ปลูกมะพร้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสมเท่านั้น โดยมีเนื้อที่ 1,098 ไร่
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27