Page 19 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครนายก
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                               12







                       ปรับเปลี่ยนพื้นที่ หรือลงทุนสำหรับปัจจัยการผลิตสูง  เพื่อไหม้มีพื้นที่มีความเหมาะสมสำหรับปลูก
                       ปาล์มน้ำมันในพื้นที่นั้น ๆ จึงไม่เหมาะสมสำหรับแนะนำเกษตรกรรายย่อยในการขยายพื้นที่ปลูก

                         2.3  มันสำปะหลัง
                             มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดนครนายกในลำดับที่  3 จากฐานข้อมูลใน

                       แผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้  (ตารางที่ 6 และภาพที่

                       10 – 11)
                               1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง

                                   ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 25,602 ไร่คิดเป็นร้อยละ 2.62 ของ
                       พื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวอยู่ในอำเภอบ้านนา 16,954 ไร่ อำเภอเมืองนครนายก 8,202 ไร่

                       อำเภอปากพลี 441 ไร่ และอำเภอองครักษ์ 5 ไร่

                                   ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 7,923 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.82
                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวอยู่ในอำเภอเมืองนครนายก 6,768 ไร่ อำเภอปากพลี 1,143 ไร่

                       และอำเภอองครักษ์ 12 ไร่

                                   ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย  (S3) มีเนื้อที่ 43,374 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       4.44 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวอยู่ในอำเภอเมืองนครนายก 27,858 ไร่ อำเภอบ้านนา

                       11,175 ไร่ อำเภอปากพลี 4,146 ไร่ และอำเภอองครักษ์ 195 ไร่

                                   ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 899,316 ไร่
                               2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสม

                       ของที่ดินได้ดังนี้
                                  (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 745 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.91 ของพื้นที่ศักยภาพสูง

                       กระจายตัวอยู่ในอำเภอเมืองนครนายก 690 ไร่ และอำเภอบ้านนา 55 ไร่

                                  (2) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย  (S3) มีเนื้อที่ 1,121 ไร่ คิดเป็นร้อยละ  2.58  ของพื้นที่
                       ศักยภาพเล็กน้อย กระจายตัวอยู่ในอำเภอเมืองนครนายก  840 ไร่ อำเภอองครักษ์ 195 ไร่ อำเภอ

                       บ้านนา 76 ไร่ และอำเภอปากพลี 10 ไร่
                                   (3) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N)  มีเนื้อที่ 75 ไร่

                                3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกมันสำปะหลังแต่ไม่ใช้พื้นที่

                       ปลูก พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับการปลูกมันสำปะหลัง และพื้นที่ปลูก
                       มันสำปะหลังในชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่าจังหวัดนครนายกมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือ

                       ในระดับความเหมาะสมสูง (S1) และความเหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 32,780 ไร่ กระจายอยู่

                       ทั่วทุกอำเภอโดยอำเภอที่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือมากที่สุด ได้แก่ อำเภอบ้านนา 16,899 ไร่ รองลงมา
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24