Page 17 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครนายก
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                               10







                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม  (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
                       เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น ทำการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า

                       โดยพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
                         2.2  ปาล์มน้ำมัน

                             ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดนครนายกในลำดับที่ 2 จากฐานข้อมูลในแผน

                       ที่เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 5 และภาพที่ 8 – 9)
                             1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน  พบเพียงพื้นที่ที่มีความเหมาะสม

                       เล็กน้อย (S3) และไม่เหมาะสม (N) เท่านั้น มีรายละเอียดดังนี้
                                 ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 584,650 ไร่ คิดเป็นร้อยละ  59.97 ของ

                       พื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวอยู่ในอำเภอองครักษ์ 222,164 ไร่ อำเภอเมืองนครนายก 201,687 ไร่

                       อำเภอปากพลี 115,155 ไร่ และอำเภอบ้านนา 45,644 ไร่
                                 ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 390,269 ไร่

                              2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน

                       ได้ดังนี้
                                 (1) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 408 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.07 ของพื้นที่ศักยภาพ

                       เล็กน้อย กระจายตัวอยู่ในอำเภอองครักษ์ 392 ไร่ อำเภอปากพลี 12 ไร่ และอำเภอเมืองนครนายก 4 ไร่

                                 (2) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 3,480 ไร่
                              3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกปาล์มน้ำมันแต่ไม่ใช้พื้นที่ปลูก

                       พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน และพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน
                       ในชั้นความเหมาะสมต่าง  ๆ (ปลูกจริง) พบว่า จังหวัดนครนายกไม่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับ

                       เหมาะสมสูง  (S1) และพื้นที่เหมาะสมปานกลาง  (S2) จึงไม่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในการปลูก

                       ปาล์มน้ำมัน
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22