Page 25 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครนายก
P. 25

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                               18







                       3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด

                         3.1  มะยงชิดนครนายก เป็นพืชที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงของจังหวัด ซึ่งเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้

                       ทางภูมิศาสตร์ หรือ Geographical Indications: GI มีลักษณะเด่น คือ ผลใหญ่ รูปทรงไข่ ผลดิบสี
                       เขียวอ่อน ผลสุกสีเหลืองส้ม เนื้อหนา เนื้อแน่น เมล็ดลีบ สีน้ำตาลอ่อน กรอบ รสชาติหวานอมเปรี้ยว

                       มีค่าความหวาน  18 – 22 องศาบิกซ์ ปริมาณผลผลิต  1,302  ตัน ปริมาณผลผลิตเฉลี่ย  105 กิโลกรัมต่อไร่

                       พันธุ์มะยงชิดที่นิยมปลูก  ได้แก่ พันธุ์ทูลเกล้า  บางขุนนนท์  ท่าด่าน  ชิดสาลิกา ทูลถวาย ชิดสง่า
                       ซึ่งพื้นที่การผลิตมะยงชิดนครนายก ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองนครนายก อำเภอบ้านนา อำเภอปากพลี

                       และอำเภอองครักษ์

                         3.2  มะปรางหวานนครนายก  เป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่เกษตรกรนิยมปลูก
                       เพื่อการค้า และเป็นสินค้า GI โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาด ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์จนถึงมีนาคม มะปราง

                       หวานนครนายก มีขนาดของผลค่อนข้างใหญ่ รูปร่างยาวรี ปลายเรียวแหลม เปลือกบาง ผลสุกสีเหลือง

                       อมส้ม เนื้อหนา แน่น ละเอียด รสหวาน หอมกรอบ ไม่ระคายคอ มีค่าความหวานในช่วง  16 – 19
                       องศาบิกซ์ พันธุ์มะปรางที่มีคุณภาพในพื้นที่จังหวัดนครนายก  อาทิ พันธุ์ทองนพรัตน์ ซึ่งปลูกในพื้นที่

                       อำเภอเมืองนครนายก อำเภอบ้านนา อำเภอปากพลี และอำเภอองครักษ์
                         3.3  ส้มโอ เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง นอกจากการบริโภคสดแล้ว ยังนำไปประยุกต์

                       ในการประกอบอาหารได้ทั้งคาวและหวาน  อีกทั้งยังเป็นที่นิยมในการใช้ประโยชน์ด้านต่าง  ๆ เช่น
                       งานเทศกาล งานบุญ ใช้เป็นของไหว้ ของกำนัลในการจัดเลี้ยง เป็นต้น ส้มโอเป็นพืชมีมูลค่า

                       การส่งออก มากถึง 23,922.50 ตัน สร้างมูลค่าการส่งออก 513.30 ล้านบาท ของทั้งประเทศ

                       นครนายกถือเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง  ที่เป็นแหล่งปลูกส้มโอที่สำคัญ  พันธุ์ที่นิยมปลูกจะใช้
                       พันธุ์ทองดี และขาวน้ำผึ้ง เป็นต้น มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 8.54 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ส้มโอจะมีปัญหา

                       เรื่องโรคและแมลงศัตรูพืชค่อนข้างมาก  เช่น โรคแคงเกอร์  โรคกรีนนิ่ง  เพลี้ยไฟ หนอนชอนใบ แมลงวันทอง

                       เป็นต้น ทำให้เกษตรกรต้องใช้สารเคมีป้องกันกำจัดในปริมาณมาก จึงมักประสบปัญหาสารพิษตกค้าง
                       และเป็นอุปสรรคต่อการผลิตเพื่อส่งออก  อีกทั้งความไม่สม่ำเสมอของคุณภาพผลผลิต  โดยเฉพาะ

                       รสชาติของส้มโอที่ปลูกแต่ละแหล่งผลิต หรือแม้กระทั่งแต่ละช่วงเวลาระหว่างปีที่เก็บเกี่ยวผลผลิต

                         3.4  ไม้ดอกไม้ประดับ  การปลูกไม้ดอกไม้ประดับของจังหวัดนครนายก  มีการเพาะปลูกทั้งใน
                       ลักษณะของไม้ชำถุง  ชำกิ่ง ไม้กระถาง  ไม้ตัดใบ รวมถึงไม้ประดับขุดล้อม  ซึ่งมีพื้นที่ปลูกปัจจุบัน

                       12,519 ไร่ ส่วนมากอยู่ในเขตอำเภอองครักษ์ ซึ่งมีการเพาะกล้าไม้จำหน่ายทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่
                       จำนวนกว่าพันชนิด  จังหวัดนครนายกนับได้ว่าเป็นแหล่งเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่ใหญ่ที่สุดใน

                       ประเทศไทย

                         3.5  พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green
                       Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็นเรื่องหนึ่งที่
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30