Page 16 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครนายก
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                9







                                   ทั้งนี้ ในการส่งเสริมการปลูกพืชจะพิจารณาเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพคงเหลือในระดับ
                       ความเหมาะสมสูง (S1) และระดับความเหมาะสมปานกลาง  (S2) เท่านั้น เนื่องจากสภาพพื้นที่ปลูก

                       พืชตรงตามศักยภาพของดิน การลงทุนต่ำก็สามารถเพิ่มผลผลิตได้ จึงควรส่งเสริมในพื้นที่ดังกล่าว
                               เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลศักยภาพพื้นที่ร่วมกับพื้นที่ปลูกพืชในปัจจุบัน  พบว่า พื้นที่ที่จะ

                       ปรับเปลี่ยนไปปลูกข้าวได้ คือ บริเวณที่เป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน (S3+N) 1,762 ไร่ และพื้นที่ปลูก

                       มันสำปะหลัง (S3) 68 ไร่ แต่เนื่องจากนโยบายของคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการข้าวต้องการ

                       รักษาดุลยภาพผลผลิตข้าว  ดังนั้น จึงควรพิจารณาปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นที่สอดคล้องกับความ

                       ต้องการของตลาด (ตารางที่ 4)


                       ตารางที่ 4 พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตข้าว

                                               ปาล์มน้ำมัน (ไร่)                 มันสำปะหลัง (ไร่)
                           อำเภอ
                                         S3          N          รวม         S3          N         รวม

                       เมืองนครนายก          -           -          -         10           -         10
                       บ้านนา                -        252        252          48           -         48

                       ปากพลี               12           -         12         10           -         10

                       องครักษ์            155       1,343     1,498            -          -           -
                            รวม           167       1,595      1,762          68           -         68



                             4) แนวทางการจัดการ
                               (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร

                       ปลูกข้าวต่อไป เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี

                       ซึ่งการปลูกข้าวในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตร
                       อินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น

                                 พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง  (S1) คือ พื้นที่ปลูกข้าวในที่ดินที่ไม่มี

                       ข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกข้าว  ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของจังหวัด  กระจายตัวอยู่ใน
                       อำเภอเมืองนครนายก  อำเภอบ้านนา อำเภอปากพลี และอำเภอองครักษ์

                                 พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูกข้าวในที่ดิน

                       ที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกข้าว เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรด
                       เป็นด่าง และแหล่งน้ำ กระจายตัวอยู่ในอำเภอเมืองนครนายก อำเภอบ้านนา อำเภอปากพลี

                       และอำเภอองครักษ์
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21