Page 6 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสกลนคร
P. 6

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน










                       1. ข้อมูลทั่วไป


                             จังหวัดสกลนครมีพื้นที่ 9,605.764 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,003,602 ไร่ ตั้งอยู่จังหวัดใน
                       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประกอบด้วย 18 อ าเภอ 125 ต าบล (ตารางผนวกที่ 1)

                       จังหวัดสกลนครมีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 8 มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 10 ของ

                       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีประชากร 1,146,936 คน (กรมการปกครอง, 2563)
                         1.1  อาณาเขตติดต่อ

                             ทิศเหนือ      ติดต่อ จังหวัดบึงกาฬและจังหวัดหนองคาย

                             ทิศใต้       ติดต่อ จังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดมุกดาหาร
                             ทิศตะวันออก   ติดต่อ จังหวัดนครพนม

                             ทิศตะวันตก    ติดต่อ จังหวัดอุดรธานี

                         1.2  ภูมิประเทศ
                             สภาพภูมิประเทศของจังหวัดสกลนครโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง ล้อมรอบด้วยภูเขาที่ปกคลุม

                       ด้วยป่าไม้ ด้านทิศใต้เป็นเทือกเขาสูง มีบึงหนองหารที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ เป็นแหล่งน้ าจืด
                       ที่ส าคัญของจังหวัด พื้นที่แบ่งเป็น

                             1) ที่ราบสูง อยู่ด้านเหนือของจังหวัด ครอบคลุมพื้นที่อ าเภอบ้านม่วง ค าตากล้า สว่างแดนดิน

                       อากาศอ านวย และเจริญศิลป์ สูงกว่าระดับทะเลปานกลางเฉลี่ย 172 เมตร
                             2) ที่ราบลุ่มลอนคลื่นไม่สม่ าเสมอกัน ด้านเหนือของอ าเภออากาศอ านวยส่วนที่ติดกับแม่น้ า

                       สงครามเป็นที่ราบน้ าท่วมถึง ส่วนใหญ่เป็นป่าทามและที่รกร้างว่างเปล่า ด้านใต้มีลักษณะเป็น
                       แอ่งกระทะขนาดใหญ่ เรียกว่าแอ่งสกลนคร จุดต่ าสุดของแอ่งคือทะเลสาบหนองหาน อ าเภอเมือง

                       สกลนคร

                         1.3  ภูมิอากาศ
                             สภาพภูมิอากาศของจังหวัดสกลนครเป็นแบบร้อนชื้นหรือภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw)

                       ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน ได้รับอิทธิพลของมรสุมที่พัดประจ าฤดูกาล 2 ชนิด คือ

                       มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ท าให้อากาศหนาวเย็นและแหงทั่วไปและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ท าให้มี
                       ฝนตกชุกทั่วไป มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม

                       อากาศร้อนจัดในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลาง

                       เดือนตุลาคม เป็นช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเอาความชื้นจากทะเลและมหาสมุทรมาปกคลุม
                       ประเทศไทย ท าให้อากาศชุมชื้นและมีฝนตกชุก เดือนสิงหาคมมีฝนตกชุกมากที่สุดในรอบปี และฤดูหนาว

                       เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็นและแห้งอากาศหนาวมาก
                       ที่สุดในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11