Page 41 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครราชสีมา
P. 41
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
34
(2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) ในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีเนื้อที่ 350,214 ไร่
คิดเป็นร้อยละ 8.38 ของพื้นที่ศักยภาพปานกลาง พบมากอยู่ในอำเภอปากช่อง 96,320 ไร่อำเภอด่าน
ขุนทด 81,947 ไร่ และอำเภอสีคิ้ว 40,664 ไร่
(3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) ในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีเนื้อที่ 100,182 ไร่
คิดเป็นร้อยละ 7.31 ของพื้นที่ศักยภาพเล็กน้อย พบมากอยู่ในอำเภอปากช่อง 41,060 ไร่ อำเภอ
วังน้ำเขียว 30,674 ไร่ และอำเภอสีคิ้ว 8,625 ไร่
(4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) ในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีเนื้อที่ 36,502 ไร่
3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แต่ยัง
ไม่ใช้พื้นที่ปลูก พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และพื้นที่ปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในชั้นความเหมาะสมต่างๆ (ปลูกจริง) พบว่าจังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ศักยภาพ
คงเหลือในระดับความเหมาะสมสูง (S1) และความเหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 3,846,196 ไร่
โดยอำเภอที่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือมากที่สุด ได้แก่ อำเภอปากช่อง 424,490 ไร่ รองลงมา ได้แก่
อำเภอด่านขุนทด 409,394 ไร่ อำเภอสีคิ้ว 366,755 ไร่ และอำเภอครบุรี 253,184 ไร่ มีรายละเอียด
ดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูงคงเหลือ (S1) มีเนื้อที่ 16,281 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 96.53 ของพื้นที่
ศักยภาพสูง พบมากในอำเภอพิมาย 5,185 ไร่ อำเภอปักธงชัย 4,893 ไร่ และอำเภอโชคชัย 2,936 ไร่
(2) พื้นที่เหมาะสมปานกลางคงเหลือ (S2) มีเนื้อที่ 3,829,915 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
91.62 ของพื้นที่ศักยภาพปานกลาง พบมากในอำเภอปากช่อง 424,490 ไร่ อำเภอด่านขุนทด 407,655 ไร่
และอำเภอสีคิ้ว 366,753 ไร่