Page 40 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครราชสีมา
P. 40

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               33








                             4) แนวทางการจัดการ
                               (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้
                       เกษตรกรปลูกอ้อยโรงงานต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและ
                       ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกอ้อยโรงงานในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอด

                       โครงการที่สำคัญต่างๆ ได้ เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ
                       เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน

                       ในที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกอ้อยโรงงาน ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกอ้อยโรงงาน
                       ที่สำคัญของจังหวัด โดยกระจายอยู่ในอำเภอโชคชัย อำเภอปักธงชัย อำเภอพิมาย เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูก
                       อ้อยโรงงานในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกอ้อยโรงงาน เช่น ความอุดม

                       สมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง และแหล่งน้ำ โดยกระจายอยู่ในอำเภอด่านขุนทด อำเภอสีคิ้ว
                       และอำเภอปากช่อง เป็นต้น
                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
                       เข้าโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น ทำการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า โดย

                       พิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                           2.4  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                                 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดนครราชสีมาในลำดับที่ 4 จากฐานข้อมูล
                       ในแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online วิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 3 พื้นที่ดังนี้

                                     1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                                     ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 16,866 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.16

                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากอยู่ในอำเภอพิมาย 5,185 ไร่ อำเภอปักธงชัย 4,971 ไร่ และ
                       อำเภอโชคชัย 2,936 ไร่
                                     ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 4,180,129 ไร่ คิดเป็น
                       ร้อยละ 40.58 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากอยู่ในอำเภอปากช่อง 520,810 ไร่ อำเภอด่านขุน
                       ทด 489,602 ไร่ และอำเภอสีคิ้ว 407,417 ไร่

                                     ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 1,369,710 ไร่ คิดเป็น
                       ร้อยละ13.29 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากอยู่ในอำเภอปากช่อง 214,870 ไร่ อำเภอ
                       วังน้ำเขียว 142,265 ไร่ และอำเภอครบุรี 101,204 ไร่

                                     ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 4,733,584 ไร่
                               2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบัน
                                     (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) ในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีเนื้อที่ 585 ไร่ คิดเป็น
                       ร้อยละ 3.47 ของพื้นที่ศักยภาพสูง พบมากอยู่ในอำเภอด่านขุนทด 507 ไร่ และอำเภอ

                       ปักธงชัย 78 ไร่
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45